Page 13 - :: สมุดภาพ เมืองระยอง ::
P. 13

แหลมของบริเวณระยองนั่นเอง ภายหลังและต่อๆ มาในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จึงพบคำาว่า Layor, Layang,
               Rajong และ Rayong เป็นชื่อเมืองระยอง ส่วนแหลมแสมสารที่นับเป็นพื้นที่ของเมืองบางละมุง (ต่อมายุบลง

               เป็นอำาเภอขึ้นจังหวัดชลบุรี) นั้น ยังคงใช้คำาว่า Cape Liant อยู่เช่นเดิมจนถึงปัจจุบัน

                      เอกสารประวัติศาสตร์ชิ้นสำาคัญ ที่เกี่ยวเนื่องกับจังหวัดระยอง
                       ในสมัยอยุธยา เมืองระยองเป็นหัวเมืองปากใต้ ฝ่ายตะวันออก ชั้นจัตวา ขึ้นกรมท่า ดังปรากฏชื่อเมือง

               ระยองในกฎหมายตราสามดวง หมวดพระไอยการตำาแหน่งนาทหารหัวเมือง ซึ่งเป็นเอกสารที่ได้ถูกรวบรวม
               ชำาระในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๓๔๗) ระบุชื่อเมืองระยองและบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองระยอง เมื่อ
               พ.ศ. ๑๙๙๗ ซึ่งเป็นสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ไว้ดังนี้

                      “ศุภมัศดุ ๑๒๙๘ …๓๑ …ออกพระรำชภักดีศรีสงครำม เมืองรยอง ขึ้นประแดงอินปัญญำซ้ำย...”   ๕

                       เอกสารชิ้นสำาคัญอีกฉบับหนึ่ง คือ คู่มือทูตตอบของคณะทูตไทย ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรง
               ส่งไปเจริญสัมพันธไมตรีกับทางโปรตุเกส เมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๗ เป็นเอกสารชั้นต้นร่วมสมัย ทำาให้ทราบว่า เมือง

               ระยอง และเมืองแกลง เป็นเมืองสังกัดในเขตปกครองจันทบุรี รวมกับหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออกอื่นๆ เช่น
               เมืองบางละมุง เมืองขลุง เมืองตราด ดังมีข้อความในคู่มือทูตตอบ ดังนี้

                      “...The third province is that of Chianteboune (Chantabun). The chief city has the same name,
               it has seven towns, namely, Mueang Reyong (Rayong), Mueang Clong (Khlung), Mueang Klaeng

               (Kleeng), MueangTraat (Trad), Mueang Uenne, Mueang Bang Lemong (BangLamung)...”      ๖
                       ครั้นถึงช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา มีเหตุการณ์สำาคัญยิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับเมืองระยองคือ การที่สมเด็จพระเจ้า

               กรุงธนบุรี (พระนามเดิม สิน) เมื่อยังเป็นพระยาตาก มีตำาแหน่งเป็นเจ้าเมืองกำาแพงเพชร ได้มาตั้งพักทัพที่เมือง
               ระยอง ก่อนเข้าตีเมืองจันทบุรี โดยตามตำานานท้องถิ่นกล่าวว่า พระองค์ทรงผูกช้างไว้ใต้ต้นสะตือ และต้นสะตือ
               ดังกล่าวนั้นก็คือ ต้นสะตือที่อยู่หน้าศาลเจ้าตากในปัจจุบันนี้ เรื่องเล่าดังกล่าวสอดคล้องกับ รายงานการตรวจ

               ราชการฯ เมื่อกว่า ๑๐๐ ปีก่อน ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ที่ได้เสด็จ
               มาเมืองระยอง ใน พ.ศ. ๒๔๓๘ ตามความในรายงานดังนี้

                      “...ออกจำกบ้ำนพระยำระยองเดินไปดูตลำดจนกระทั่งวัดโขด ออกจำกวัดโขดไปดูวัดลุ่มซึ่งเปนที่ตั้งทัพ
               ขุนหลวงตำก มีโบสถ์ฤำวิหำรก่ออิฐหลังหนึ่งแต่พังเสียแล้ว พระยำระยองบอกว่ำ ผู้ใหญ่บอกว่ำขุนหลวงตำกตั้งทัพ

               ตรงต้นสตือซึ่งอยู่เฉียงมุมซ้ำยวิหำรนั้น พระองค์ท่ำนประทับในวิหำร”  ๗
                       ถึงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ใน พ.ศ. ๒๓๔๙ ปลายรัชกาลที่ ๑ พระสุนทรโวหาร (ภู่) หรือที่เรารู้จักกัน

               โดยทั่วไปในชื่อ สุนทรภู่ ขณะมีอายุประมาณ ๒๐ ปี ได้เดินทางผ่านเมืองระยองไปพบบิดาที่เมืองแกลง หลังจาก
               นั้นได้แต่งกลอนนิราศเรื่องแรกคือ นิราศเมืองแกลงขึ้น ซึ่งนิราศเมืองแกลงฉบับนี้ นอกจากจะให้ความรู้เกี่ยวกับ
               เส้นทางการเดินทางและการดำาเนินชีวิตของผู้คนในยุคนั้นแล้ว ยังเป็นการยืนยันว่าในเวลานั้น ข้าราชการที่เป็น

               กรมการเมืองของเมืองแกลงอาศัยอยู่ในบริเวณ ที่เรียกว่า บ้านดอนเค็ด ซึ่งปัจจุบันคนท้องถิ่นมักจะเรียกบริเวณนี้
               ว่า ชุมชนโพธิ์ทอง ด้วยมีวัดโพธิ์ทองพุทธาราม วัดเก่าสำาคัญของบริเวณนี้อยู่ บ้านดอนเค็ดนี้เป็นพื้นที่ที่อยู่ชิดติด
               และต่อเนื่องกับบ้านทางเกวียน อันเป็นที่ตั้งของเมืองแกลงเก่า ก่อนการย้ายมาอยู่ที่บ้านสามย่าน โดยสุนทรภู่

               ได้บรรยายไว้ดังนี้

                      “แล้วไปชมกรมกำรบ้ำนดอนเค็ด ล้วนเลี้ยงเป็ดหมูเนื้อดูเหลือเข็ญ
                      ยกกระบัตรคัดช้อนทุกเช้ำเย็น  เมียที่เป็นท่ำนผู้หญิงนั่งปิ้งปลำฯ”  ๘



                                                                                        สมุดภาพเมืองระยอง   11
                                                                                                         Ÿ
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18