Page 62 - การประยุกต์ทฤษฎีใหม่สู่ โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง | กรมการพัฒนาชุมชน
P. 62
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปทอดพระเนตร พื้นที่นา
ที่ถูกน้�าท่วมเสียหายในท้องที�อ�าเภอมหาราช และอ�าเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที� ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๙
ทฤษฎีใหม่ ๒
เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ�มขั้นที่สอง
คือการให้้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปแบบรวมกลุ่่ม หรือสหกรณ์ ร่่วมแรงร่วมใจกันด�าเนินการในด้าน
ต่างๆ ดังนี้
๑. การผลิต (พันธุ์พืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ)
๒. การตลาด (ลานตากข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจ�าหน่ายผลผลิต)
๓. ความเป็นอยู่ (กะปิ น�้าปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ)
๔. สวัสดิการ (สาธารณสุข เงินกู้)
๕. การศึกษา (โรงเรียน ทุนการศึกษา)
๖. สังคมและศาสนา
กิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้นจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าส่วน
ราชการ องค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นส�าคัญ
ทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ ๓
เมื่อด�าเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้น
ที่สามต่อไป คือ ติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุนหรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร บริษัท ห้างร้านเอกชน
มาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต
58