Page 61 - การประยุกต์ทฤษฎีใหม่สู่ โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง | กรมการพัฒนาชุมชน
P. 61

คันนาทองค�า ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ อ�าเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ (พระอาจารย์สังคม ธนปัญโญ)


                                  ๑. ร้อยละ ๓๐ ส่วนแรก ให้ขุดสระน�้าประมาณ ๔.๕ ไร่ ส�าหรับเก็บน�้าฝนตามธรรมชาติ และ
                           จะต้องใช้น�้าอย่างประหยัด รูปร่างและขนาดของสระน�้าอาจยืดหยุ่นได้บ้าง หรืออาจจะเป็นสระน�้า
                           เล็กๆ หลายๆ แห่ง กระจายออกไปตามสภาพพื้นที่ แต่ให้รวมพื้นที่ทั้งหมดจะต้องใกล้เคียง ร้อยละ ๓๐
                           สระน�้ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าใหญ่ๆ น่าจะลดการระเหยของน�้าได้ดีกว่าบ่อกว้าง

                                  ๒. ร้อยละ ๓๐ ส่วนที่ ๒ ใช้ปลูกข้าวเนื้อที่ประมาณ ๔.๕ ไร่ เนื่องจากข้าวเป็นอาหารหลัก
                           ของคนไทย เกษตรกรจะต้องมั่นใจว่ามีข้าวกินเพียงพอตลอดปี เพื่อสร้างเสถียรภาพทางด้านอาหาร
                          ให้แก่ครัวเรือน

                                  ๓. ร้อยละ ๓๐ ส่วนที่ ๓ เนื้อที่ ๔.๕ ไร่ ให้ปลูกพืชสวน ไม้ยืนต้น และพืชไร่ ผสมผสานกัน
                          หลากหลายอย่างตามภูมิภาคและฤดูกาล ตลอดจนความต้องการของตลาด ไม่มีสูตรตายตัว สามารถ
                          ยืดหยุ่นได้ เพื่อเป็นหลักประกันความยั่งยืนในด้านอาหาร และสามารถเสริมสร้างรายได้เป็นพิเศษด้วย
                          เช่น พืชที่เป็นไม้ผล พืชที่เป็นไม้กิน พืชที่เป็นไม้ล้มลุก พืชสวนที่เป็นไม้ดอกไม้ประดับ เห็ด สมุนไพร
                          และเครื่องเทศ พืชสวนที่ปลูกในน�้า ไม้ยืนต้นส�าหรับใช้สอยและเป็นเชื้อเพลิง พืชไร่บางชนิด เช่น

                          ข้าวโพด อ้อยคั้นน�้า และพืชคลุมดินชนิดที่เป็นพืชล้มลุก เช่น ปอเทือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม
                                  ส�าหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทหรือริมบ่อ บนคันดินควรปลูกแฝกเป็นแถวขวาง ตามแนวราบ

                           เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน โดยมีหลักการพิจารณาเลือกปลูกพืชทั่วๆ ไป ให้ดูจาก
                          ความสูงของพืชดังกล่าวโดยแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ดังนี้
                                  ๑. ต้นสูง เช่น มะพร้าว มะขาม ประดู่ ไผ่ ขนุน เป็นต้น

                                  ๒. ต้นปานกลาง เช่น มะม่วง ส้ม มะนาว ขี้เหล็ก กระท้อน น้อยหน่า กล้วย อ้อย สะเดา เป็นต้น

                                  ๓. ต้นล่าง เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ บัวบก กระชาย ขมิ้น สับปะรด มันต่างๆ เป็นต้น

                                  ๔. ร้อยละ ๑๐ เป็นที่อยู่อาศัย ถนน คันดิน และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ รวมประมาณ ๑.๕ ไร่ รวมทั้ง
                          คอกสัตว์เลี้ยง เรือนเพาะช�า ยุ้งฉาง อาคารที่เก็บเครื่องมือในการเกษตร

                                  ๕. การเลี้ยงสัตว์ ควรพิจารณาเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมและไม่สิ้นเปลืองเงินทุน  เพราะ
                          วัตถุประสงค์เพียงแต่เป็นอาหาร และอาจเป็นรายได้เสริมในวาระต่างๆ

                                  การเกษตรทฤษฎีใหม่ในเขตน�้าฝนนี้ ถึงแม้จะหวังพึ่งน�้าจากการกักเก็บน�้าฝนตามธรรมชาติ
                          แต่ถ้ามีระบบชลประทานของรัฐเสริมบ้างในบางครั้งบางคราว ก็จะท�าให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น


                                                                                                         57
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66