Page 59 - การประยุกต์ทฤษฎีใหม่สู่ โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง | กรมการพัฒนาชุมชน
P. 59

๓.๒ ทฤษฎีใหม่ในด้านการเกษตร สอดรับกับปรัชญาของเศรษฐกิจ
                           พอเพียง : ที่มาแห่งพระราชด�าริ “ทฤษฎีใหม่”

                                  เหตุเกิดที่บ้านกุดตอแก่น ต�าบลกุดสินคุ้มใหม่ อ�าเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ ๒๕
                           พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
                           บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชด�าเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่นั้น ทรงพบเห็นสภาพความยากล�าบาก
                           ของราษฎรในการท�านาในพื้นที่อาศัยน�้าฝน (ปลูกข้าวได้ ๑ ถัง/ไร่) เพาะปลูกได้ปีละครั้งในช่วงของฤดูฝน
                           เท่านั้น มีความเสี่ยงในการเสียหายจากความแปรปรวนของดิน ฟ้า อากาศ และฝนทิ้งช่วง จึง

                          มีพระราชด�ารัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้า ฯ ถวายชัยมงคล ในโอกาสวันเฉลิม
                          พระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต วันศุกร์ ที่ ๔ ธันวาคม
                          พ.ศ. ๒๕๓๕ ความว่า

                                         “...ถามชาวบ้านที่อยู่ที่นั่น ว่าเป็นอย่างไรปีนี้.    เขาบอกว่าเก็บข้าวได้
                                  แล้วข้าวก็อยู่ตรงนั้น  กองไว้.    เราก็ไปดูข้าว  ข้าวนั้นมีรวงจริงแต่ไม่มีเม็ด
                                  หรือรวงหนึ่งมีสักสองสามเม็ด.    ก็หมายความว่าไร่หนึ่ง  คงได้ประมาณ
                                  สักถังเดียว  หรือไม่ถึงถังต่อไร่.    ถามเขาทำาไมเป็นเช่นนี้.    เขาก็บอกว่า
                                  เพราะไม่มีฝน เขาปลูกกล้าไว้ แล้วเมื่อขึ้นมาก็ปักดำา.    ปักดำาไม่ได้เพราะว่า
                                  ไม่มีนำ้า  ก็ปักในทราย  ทำารูในทรายแล้วปักลงไป.    เมื่อปักแล้วตอนกลางวัน

                                  ก็เฉา  มันงอลงไป  แต่ตอนกลางคืนก็ตั้งตัว  ตั้งตรงขึ้นมาเพราะมีนำ้าค้าง
                                  แล้วในที่สุดก็ได้รวงแต่ไม่มีข้าวเท่าไร.    อันนี้เป็นบทเรียนที่ดี เขาก็เล่าให้ฟัง
                                  อย่างตรงไปตรงมา.  แสดงให้เห็นว่าข้าวนี้เป็นพืชที่แข็งแกร่งมาก ขอให้ได้
                                  มีนำ้าค้างก็พอ.    แม้จะเป็นข้าวธรรมดาไม่ใช่ข้าวไร่.    ถ้าหากว่าเราช่วยเขา
                                  เล็กน้อยก็สามารถที่จะได้ข้าวมากขึ้นหน่อย  พอที่จะกิน.   ฉะนั้นโครงการ
                                  ที่จะทำา  มิใช่จะต้องทำาโครงการใหญ่โตมากนัก  จะได้ผล  ทำาเล็ก ๆ  ก็ได้.
                                  จึงเกิดความคิดขึ้นมาว่าในที่อย่างเช่นนั้น  ฝนก็ดีพอสมควร  แต่ลงมา

                                  ไม่ถูกระยะเวลา  เมื่อลงมาไม่ถูกระยะเวลา  ฝนก็ทิ้งช่วง  ข้าวก็ไม่ดี
                                  วิธีแก้ไขคือต้องเก็บนำ้าฝนที่ลงมา.    ก็เกิดความคิดว่าอยากทดลองดู  สักสิบไร่
                                  ในที่อย่างนั้น.    สามไร่จะทำาเป็นบ่อนำ้า  คือเก็บนำ้าฝนแล้วถ้าจะต้องใช้บุด้วย
                                  พลาสติคก็บุด้วยพลาสติค  ทดลองดู.     แล้วอีกหกไร่ทำาเป็นที่นา ส่วนไร่ที่เหลือนั้น
                                  ก็เป็นที่บริการ  หมายถึงทางเดินหรือเป็นกระต๊อบ  หรืออะไรก็แล้วแต่.
                                  หมายความว่า  นำ้าสามสิบเปอร์เซ็นต์  ที่ทำานา  หกสิบเปอร์เซ็นต์ ก็เชื่อว่า
                                  ถ้าเก็บนำ้าไว้ได้  จากเดิมที่เก็บเกี่ยวข้าวได้ไร่ละหนึ่งถังถึงสองถัง ถ้ามีนำ้า
                                  เล็กน้อยอย่างนั้น  ก็ควรจะเก็บเกี่ยวข้าวได้ไร่ละประมาณสิบถึงยี่สิบถัง
                                  หรือมากกว่าอาจจะถึง   สามสิบก็ได้.     สมมุติว่า   สิบเท่าก็ยี่สิบถัง    หมายความว่า

                                  ที่หกไร่ปัจจุบัน  ที่ได้ไร่ละหนึ่งถัง  ก็จะได้  ยี่สิบถัง.    ยี่สิบเท่าหรือถ้านับเอาง่ายๆ
                                  ว่าสิบเท่า  ที่หกไร่จะเท่ากับ  หกสิบไร่.    ทั้งหมดสิบไร่  เท่ากับได้ผลเท่ากับ
                                  หกสิบไร่ของเขาปัจจุบัน  จึงควรจะใช้ได้.    ก็พยายามที่จะวางแผนนี้. ...”


                                  สภาพดังกล่าวเป็นปัญหาของเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศ แม้ว่าจะมีการขุดบ่อไว้บ้าง

                           ก็มีขนาดไม่แน่นอน น�้าใช้ยังไม่พอเพียง รวมทั้งระบบการปลูกพืชส่วนใหญ่เป็นพืชชนิดเดียว ด้วยเหตุนี้
                           พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงทรงศึกษา

                             ป่าพออยู่ ไม้ยืนต้น ของพื้นที่เรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติ (ก�านันเคว็ด) บ้านน้อยกลางป่าใหญ่ ต�าบลวังตะกอ
                             อ�าเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร                                                  55
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64