Page 60 - การประยุกต์ทฤษฎีใหม่สู่ โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง | กรมการพัฒนาชุมชน
P. 60
รวบรวมข้อมูล น�ามาวิเคราะห์และได้พระราชทานพระราชด�าริ ซึ่งเรียกว่า
“ทฤษฎีใหม่” อันเป็นแนวทางการจัดการดินและน�้าเพื่อการเกษตรขนาดเล็ก
ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้ทรงทดลองเป็นแห่งแรกที่วัดมงคลชัยพัฒนา
ต�าบลห้วยบง อ�าเภอเมืองเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี
ทฤษฎีใหม่นี้เป็นแนวทางการพัฒนาชีวิตและอาชีพ ได้พระราชทาน
พระราชด�าริไว้ ๓ ขั้น คือ
ขั้นที่ ๑ - การผลิต
ขั้นที่ ๒ - การรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์
ขั้นที่ ๓ - การร่วมมือกับแหล่งเงิน ธนาคารและกับแหล่งพลังงาน
ในที่นี้ จะเน้นรายละเอียดเฉพาะขั้นตอนที่ ๑ การเพาะปลูกในที่ดิน
ของเกษตรกร ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่ส�าคัญที่สุด โดยสรุปมาจากนายอ�าพล
เสนาณรงค์ องคมนตรี ดังนี้
ทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ ๑
พื้นฐานที่ส�าคัญของเกษตรกรที่จะเดินตามทฤษฎีใหม่ ได้แก่ มีพื้นที่
ค่อนข้างน้อย (ประมาณ ๑๕ ไร่) ฐานะค่อนข้างยากจน มีจ�านวนสมาชิก
ครัวเรือนปานกลาง (ไม่เกิน ๖ คน) อยู่ในเขตพึ่งพาน�้าฝนตามธรรมชาติ ฝนไม่ชุก
สภาพดินสามารถกักเก็บน�้าได้ หลักการที่ส�าคัญ คือ การบริหารจัดการดินและน�้า
เพื่อให้เกิดผลผลิตเป็นอาหารและรายได้ตลอดปี ในระยะแรกควรผลิตพอเพียง
เลี้ยงตัวได้ แต่จะต้องมีความขยันหมั่นเพียร อยู่กินอย่างประหยัด มีความสามัคคี
และช่วยเหลือเกื้อกูลเพื่อนบ้าน พระองค์ทรงแนะน�าให้แบ่งพื้นที่ออกเป็นสัดส่วน
คือ ๓๐ ๓๐ ๓๐ และ ๑๐ (ภายหลังสัดส่วนนี้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยให้ยืดหยุ่น
ได้บ้าง) และจะต้องกระท�ากิจกรรมดังนี้ สระน�้าในพื้นที่ของ
นายภูริทัต และนางธณภร เพ็งจิตร์
56