Page 55 - การประยุกต์ทฤษฎีใหม่สู่ โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง | กรมการพัฒนาชุมชน
P. 55
พระราชด�ารัส พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระราชทานแก่คณะผู้แทนสมาคม องค์การเกี่ยวกับศาสนา ครูนักเรียนโรงเรียนต่างๆ นักศึกษา
มหาวิทยาลัย ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย
สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต วันพุธ ที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๗
“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย
ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่. แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคน
มีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำางาน
ตั้งจิตอธิษฐาน ตั้งปณิธาน ในทางนี้ ที่จะให้เมืองไทยอยู่ แบบพออยู่พอกิน.
ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ. เปรียบเทียบ
กับประเทศอื่น ๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้.
ประเทศต่าง ๆ ในโลกนี้กำาลังตก กำาลังแย่ กำาลังยุ่ง เพราะแสวงหาความยิ่งยวด
ทั้งในอำานาจ ทั้งในความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ทางอุตสาหกรรม ทางลัทธิ.
ฉะนั้นถ้าทุกท่านซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีความคิด และมีอิทธิพล มีพลังที่จะทำาให้
ผู้อื่นซึ่งมีความคิดเหมือนกัน ช่วยกันรักษาส่วนรวมให้อยู่ดีกินดีพอสมควร
ขอยำ้า พอควร พออยู่พอกิน มีความสงบ ไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้
จากเราไปได้ ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวร ที่จะมีคุณค่าอยู่ตลอดกาล. ...”
ต่อมาค�าว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” เริ่มเป็นค�าที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย พระบาทสมเด็จ
พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณให้
ปรับปรุงบทความเรื่อง “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งส�านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาต่างๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรอง
พระราชด�ารัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้พระราชทานไว้ในโอกาสต่างๆ รวมทั้งพระราชด�ารัสอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้อง และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้น�าไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่าย
และประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒ สรุปความว่า
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้
๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่
เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับความพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไป
อย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนค�านึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจาก
การกระท�านั้นๆ อย่างรอบคอบ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ
ที่จะเกิดขึ้น โดยค�านึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
51