Page 14 - :: สมุดภาพ สระบุรี ::
P. 14
ครั้งแรกที่มีการบันทึกเอาไว้
ถัดมาใน พ.ศ. ๒๓๒๑ มีบันทึกในพระราชพงศาวดารระบุว่าได้เกิดความขัดแย้งขึ้นภายในอาณาจักรล้านช้าง สมเด็จพระเจ้า
กรุงธนบุรีได้มีรับสั่งให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์ คุมก�าลังไปยึดนครเวียงจันทน์ แล้วได้กวาดครัวลาวกว่า
หมื่นคนมาไว้ยังเมืองสระบุรี
เมื่อเข้าสู่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีรับสั่งให้กรมหลวงเทพหริรักษ์ร่วมกับกองทัพจากหัวเมืองเหนือ
ท�าการขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงแสนจนเป็นผลส�าเร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๗ จากสงครามครั้งนี้ ได้มีการกวาดครัวลาวยวนเชียงแสน
กว่า ๒๓,๐๐๐ คน แบ่งไว้ตามหัวเมืองต่างๆ รวมทั้งเมืองสระบุรีเป็นจ�านวนมาก ถือเป็นการเข้ามาตั้งรกรากของครัวลาวล้านนาเป็น
ครั้งแรกในเมืองสระบุรี
เมื่อเข้าสู่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๖๙-๒๓๗๒ ได้เกิดศึกสงครามระหว่างสยามกับ
เวียงจันทน์ขึ้นอีกครั้ง จากผลพวงของเหตุการณ์ครั้งนี้ ได้มีการกวาดครัวลาวเวียงจันทน์และลาวหัวเมืองใกล้เคียงลงมาไว้ยังหัวเมือง
ชั้นในรวมถึงเมืองสระบุรีอีกเป็นจ�านวนมาก และใน พ.ศ. ๒๓๘๐ ยังมีการรวบรวมครัวลาวกว่า ๑,๗๗๐ คน ประกอบด้วยลาวพวน
ลาวเวียงจันทน์ และเมืองท่าสาร ส่งไปไว้ยังเมืองปราจีนบุรี ส่วนครัวลาวเมืองเวียงครังและเมืองพันพร้าว ให้ส่งมาไว้ยังเมืองสระบุรี
ถือเป็นครั้งสุดท้ายที่ปรากฏหลักฐานทางเอกสารว่ามีการน�าผู้คนจากแดนไกลเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองสระบุรี ผลจากการน�าคนต่างถิ่น
ส่งเข้ามาไว้ยังเมืองสระบุรีหลายครั้งนี้เอง เป็นผลให้สระบุรีมีครัวลาวเวียงจันทน์และลาวยวนหรือลาวเชียงแสนอยู่เป็นจ�านวนมาก
นอกจากนี้ในปัจจุบันยังปรากฏเชื้อสายกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ เช่น ลาวพวน ลาวญ้อ ลาวแง้ว มอญ จีน เป็นต้น หากนับเฉพาะใน
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พบว่าเมืองสระบุรีถือเป็นถิ่นฐานผู้คนชาว “ลาว” มากที่สุดในหัวเมืองชั้นใน เช่นเดียวกับเมืองพนัสนิคมใน
เวลานั้น ถึงขนาดได้มีกลุ่มผู้ปกครองเป็นชาวลาวด้วยกัน ท�าการดูแลและสั่งการ เพื่อง่ายต่อการสื่อสารและการควบคุม เห็นได้จาก
ประวัติตระกูลคัมภิรานนท์ ที่ระบุว่า ปู่คัมภีระ เป็น ๑ ใน ๓ ร่วมกับปู่สิบต๊ะ และปู่เจ้าฟ้า ผู้น�าครัวลาวยวนมาจากเชียงแสนใน พ.ศ.
๒๓๔๗ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองสระบุรีในสมัยรัชกาลที่ ๒ เช่นเดียวกับในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๓ ระบุว่าเจ้าเมืองสระบุรี
ในเวลานั้นเป็นลาวพุงด�า ซึ่งหมายถึงชาวล้านนาที่นิยมสักต้นขาและล�าตัวด้วยหมึกด�า เป็นต้น
เกี่ยวกับรายชื่อเจ้าเมืองสระบุรีที่สามารถระบุได้ ปรากฏในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๑ ว่าคือ พระยาสระบุรี ส่วนในยุค
ต่อมานั้น ปู่คัมภีระ มีบรรดาศักดิ์ว่า “พระยารัตนกาศ” เจ้าเมืองสระบุรีสมัยรัชกาลที่ ๒ มีหน้าที่ส�าคัญคือดูแลกองโคหลวงซึ่งเป็น
กองขนถ่ายส่วยสินค้าจากหัวเมืองอีสาน ข้ามเทือกเขาดงพญาไฟหรือดงพญาเย็น แล้วมาส่งที่ท่าแก่งคอยหรือท่าปากเพรียว
เพื่อล่องสินค้าลงไปจนถึงพระนคร
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ปรากฏชื่อเจ้าเมืองว่า “พระยาสุราราชวงศ์” ซึ่งเป็นลาวพุงด�า และในสมัยรัชกาลที่ ๔ ปรากฏชื่อพระสยาม
ลาวบดีปลัด เข้าใจว่าเป็นปลัดเมืองมาก่อน เมื่อเข้าสู่สมัยรัชกาลที่ ๕ หลัง พ.ศ. ๒๔๑๔ ปรากฏชื่อเจ้าเมืองสระบุรีอีกหลายคน เช่น
พระยาสระบุรี (เลี้ยง) จ่าเร่ง (?) พระยาสระบุรี (ถี) พระยาสระบุรี (เชย) กระทั่งเข้าสู่ยุคมณฑลเทศาภิบาล ส่วนกลางได้ยุบเลิกระบบ
เจ้าเมือง แล้วแต่งตั้งให้มี “ผู้ว่าราชการเมือง” ซึ่งถูกส่งมาจากส่วนกลางเป็นผู้ดูแลแทน ปรากฏชื่อผู้ว่าราชการเมืองเป็นคนจากส่วน
กลางคนแรกคือ “พระราชวรินทร์” กระทั่งราว พ.ศ. ๒๔๔๑ พระราชวรินทร์ ได้เสียชีวิตลง ส่วนกลางจึงแต่งตั้งให้ “...พระอนุชิตพิทักษ์
(ดิศ) เป็นพระยาพิไชยรณรงค์สงคราม ผู้ว่าราชการเมือง (สระบุรี) โปรดเกล้าฯ ให้นายบัว เป็นหลวงส�าแดงฤทธา ผู้ช่วยราชการ...”
ในยุคของพระยาพิไชยรณรงค์สงคราม (ดิศ) ถือเป็นช่วงเวลาที่เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อบ้านเมืองสระบุรีอย่างมาก ซึ่งก่อนหน้า
นี้ไม่นาน เกิดมีเส้นทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ผ่านมายังบ้านปากเพรียวไปจนถึงนครราชสีมา ซึ่งพระยาพิไชยรณรงค์สงคราม เล็งเห็น
ว่าตัวเมืองสระบุรีในช่วงเวลานั้น (เดิมอยู่ใกล้กับวัดจันทบุรี แล้วย้ายไปตามจวนเจ้าเมืองต่างๆ เช่น บริเวณวัดสมุหประดิษฐาราม และ
บริเวณใกล้หาดพระยาทด เป็นต้น) ซึ่งอยู่ที่บ้านเสาไห้ มีความห่างไกลเส้นทางรถไฟ จะอ�านวยความสะดวกต่อการเดินทางและ
ขนถ่ายสินค้าในอนาคตได้ยาก ใน พ.ศ. ๒๔๔๒ จึงให้ย้ายหน่วยราชการต่างๆ ไปยังบ้านปากเพรียว แล้วสร้างถนนเชื่อมต่อระหว่าง
ตัวเมืองเก่าที่เสาไห้กับตัวเมืองใหม่ที่บ้านปากเพรียว ๒ เส้นทาง ด้วยความร่วมมือของชาวบ้านและเหล่าข้าราชการ ในภายหลังพระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนสายนี้เพื่อเป็นเกียรติในการรวบรวมราษฎรมาสร้างถนนอันเป็น
สาธารณประโยชน์นี้ว่า “ถนนพิไชยรณรงค์” และยังคงเป็นถนนสายหลักระหว่างอ�าเภอเสาไห้กับอ�าเภอเมืองสระบุรีจวบจนถึงปัจจุบัน
(ต่อมาจึงเรียกกันอย่างเข้าใจผิดว่า “ถนนพิชัยรณรงค์สงคราม”)
12 สมุดภาพสระบุรี