Page 11 - :: สมุดภาพ สระบุรี ::
P. 11

ภาพสลักนูนต�่าพระโพธิสัตว์ปางประทับห้อยพระบาท ห้อมล้อมด้วยเหล่าเทวดาและเทพเจ้าฮินดูกระท�าลักษณะถวายความเคารพ
                แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศิลปะสมัยทวารวดี ภายในถ�้าพระโพธิสัตว์ ต�าบลทับกวาง อ�าเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี




                     ลักษณะของเมืองโบราณในช่วงเวลานี้มีลักษณะสัณฐานกลมมน มีคูน�้าคันดินล้อมรอบ และอยู่ใกล้กับล�าน�้าธรรมชาติซึ่งใช้เป็น
               เส้นทางสัญจรติดต่อกับบ้านเมืองอื่นที่อยู่ห่างไกลออกไป ช่วงเวลาเดียวกันยังปรากฏหลักฐานถึงการเข้ามาของพุทธศาสนาอยู่ในบริเวณ
               เขาสูงใกล้กับพื้นที่ราบ เช่นการพบข้อความอักษรปัลลวะอยู่หน้าถ�้านารายณ์ อ�าเภอพระพุทธบาท มีความหมายสื่อถึงการเป็น
               ศาสนสถานส�าคัญในอดีต และการพบภาพจ�าหลักนูนต�่าพระพุทธเจ้าแสดงธรรมเทศนาอยู่ในถ�้าพระโพธิสัตว์ อ�าเภอแก่งคอย ซึ่งทั้ง
               ๒ แห่งดังกล่าวสะท้อนการเป็นที่สงัด เหมาะต่อการเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม

                     นอกจากนี้บนยอดเขาลมหรือเขาปัถวี ยังพบรอยพระพุทธบาทเบื้องขวามีธรรมจักร ก�าหนดอายุได้ราวสมัยทวารวดีถึงสมัย
               ขอมหรือเขมรโบราณ ซึ่งเป็นช่วงเวลาต่อเนื่องกัน สะท้อนถึงการสืบเนื่องของการใช้พื้นที่ในยุคต้นประวัติศาสตร์เป็นต้นมา เช่นเดียว
               กับภายในตัวเมืองโบราณขีดขิน ที่มีการพบทวารบาลศิลาซึ่งมีรูปแบบศิลปะขอม โดยปัจจุบันถูกย้ายไปเก็บไว้ยังศาลาด้านทิศตะวัน
               ออกของมณฑปพระพุทธบาท อ�าเภอพระพุทธบาท

                     อีริก ไซเดนฟาเดน (Erik Seidenfaden) นักส�ารวจชาวเดนมาร์ก นับเป็นคนแรกๆ ที่ได้เดินทางมาส�ารวจยังเมืองโบราณขีดขิน
               และบันทึกเอาไว้ว่าภายในเมืองเคยมีร่องรอยของปราสาทก่ออิฐยุคขอมปรากฏอยู่ ซึ่งร่องรอยในวัฒนธรรมขอมบนลุ่มน�้าป่าสัก
               เขตจังหวัดสระบุรี สามารถพบได้ทั่วไป ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะการอยู่บนเส้นทางการกระจายตัวทางวัฒนธรรมจากเมืองพระนครสู่
               เมืองลพบุรี อันเป็นบ้านเมืองขนาดใหญ่ซึ่งพบหลักฐานทางโบราณวัตถุสถานในวัฒนธรรมขอมอย่างเด่นชัด สอดคล้องกับการที่ สมเด็จฯ
               กรมพระยาด�ารงราชานุภาพ ได้กล่าวเอาไว้ในพระนิพนธ์เรื่อง เที่ยวตามทางรถไฟ ในส่วนที่เป็นต�านานเมืองสระบุรี ว่า “...ท้องที่
               อันเป็นเขตจังหวัดสระบุรีนี้ แต่โบราณเมื่อขอมยังเป็นใหญ่ในประเทศนี้อยู่ในทางหลวงสายหนึ่งซึ่งขอมไปมาติดต่อกับราชธานีที่
               นครหลวง(นครธม) ยังมีเทวสถานซึ่งพวกขอมสร้างเป็นปรางค์หินไว้ตามที่ตั้งเมือง ปรากฏอยู่เป็นระยะมา...”




                สมุดภาพสระบุรี                                                                                9
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16