Page 13 - :: สมุดภาพ สระบุรี ::
P. 13

วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร อ�าเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทที่ค้นพบในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
               (พ.ศ. ๒๑๕๔-๒๑๗๑) ถือเป็นปูชนียสถานทางพุทธศาสนาที่ส�าคัญที่สุดแห่งหนึ่งของไทย








                     เมืองสระบุรีในฐานะหัวเมืองชั้นใน มีระยะเดินเท้าถึงกรุงศรีอยุธยาภายใน ๑ วัน ท�าหน้าที่สะสมก�าลังคนและยุทธปัจจัยในยาม
               ศึกสงครามให้กับส่วนกลาง ทั้งยังท�าหน้าที่รวบรวมทรัพยากรต่างๆ จากบ้านเมืองใกล้เคียงสืบมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
               อย่างไรก็ดี ความส�าคัญของเมืองสระบุรีในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้ ทวีเพิ่มมากยิ่งขึ้นภายหลังมีการค้นพบรอยพระพุทธบาทเบื้องซ้ายบน
               ยอดเขาสุวรรณบรรพตในแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๑๔๙

                     รอยพระพุทธบาทที่เมืองสระบุรีได้กลายเป็นปูชนียสถานอันส�าคัญและมีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในศรัทธาของผู้คนมาอย่างยาวนาน
               และในเวลาต่อมาได้มีการตัดถนนฝรั่งส่องกล้อง โดยชาวฮอลันดาเป็นผู้ควบคุม จากบ้านท่าเรือมายังพระพุทธบาท เป็นระยะทาง
               กว่า ๑๙ กิโลเมตร เพื่ออ�านวยประโยชน์ให้กับพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และประชาชนทั่วไปได้เดินทางมาสักการะ
               รอยพระพุทธบาทได้อย่างสะดวก และหลังจากแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ได้มีพระมหากษัตริย์เกือบทุกพระองค์ เดินทางมา
               สักการะอยู่ตลอดจนถึงปัจจุบัน

               สระบุรีสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์


                     สระบุรีในช่วงเวลานี้ ยังคงเป็นหัวเมืองชั้นใน มีหน้าที่คอยสะสมผู้คนและทรัพยากร ในเวลาบ้านเมืองสงบจะท�าหน้าที่รวบรวม
               สินค้าตามที่ส่วนกลางต้องการ หากเมื่อเกิดศึกสงคราม นอกจากจะต้องจัดหาสินค้าที่เป็นยุทธปัจจัยส่งส่วนกลางแล้ว เมืองสระบุรียัง
               ท�าหน้าที่สะสมผู้คนซึ่งถือเป็นก�าลังส�าคัญในการสร้างบ้านป้องกันเมือง

                     ในจดหมายความทรงจ�าของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี กล่าวว่าราว พ.ศ. ๒๓๑๖ ได้มีชาวลาวเวียงจันทน์
               อพยพหนีภัยสงครามเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร คราวที่พม่ามีอ�านาจอยู่ในนครเวียงจันทน์ สมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงราชานุภาพ
               ทรงสันนิษฐานว่าครัวลาวเหล่านี้ซึ่งเดินทางหนีภัยสงครามมาทางนครราชสีมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีน่าจะให้มาตั้งภูมิล�าเนาอยู่ใน
               แขวงเมืองสระบุรี ซึ่งอยู่ในขอบเขตหัวเมืองชั้นในที่มีความสะดวกในการสั่งการและดูแล การเข้ามาของผู้คนริมฝั่งโขงครั้งนี้ถือเป็น



                สมุดภาพสระบุรี                                                                               11
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18