Page 12 - :: สมุดภาพ สระบุรี ::
P. 12

เทวรูปแบบศิลปะขอม ภายในศาลาด้านทิศตะวันออกของมณฑปพระพุทธบาท คือทวารบาลศิลาที่ค้นพบในพื้นที่เมืองโบราณขีดขิน
          อ�าเภอบ้านหมอ สะท้อนความเป็นพื้นที่ภายใต้อิทธิพลของขอมในจังหวัดสระบุรี


               ในพื้นที่อื่นๆ ใกล้กับแม่น�้าป่าสัก ยังสามารถพบหลักฐานยุคขอมได้หลายแห่ง เช่น การพบคันดินซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งของ
         ตัวเมืองโบราณอยู่ริมแม่น�้าป่าสักที่บ้านท่ากระเบา อ�าเภอแก่งคอย และไม่ไกลกันนักภายในถ�้าแห่งหนึ่งเขตต�าบลบ้านป่า มีการค้นพบ
         พระพุทธรูปและส่วนประกอบของเสลี่ยงท�าด้วยโลหะ ซึ่งมีรูปแบบในวัฒนธรรมขอม เช่นเดียวกับริมแม่น�้าป่าสักในเขตอ�าเภอเสาไห้
         สามารถพบคันดินลักษณะเป็นผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่บริเวณสี่แยกโรงเรียนเสาไห้ โดยผังดังกล่าวน่าจะสัมพันธ์กับโบราณวัตถุสถาน
         บริเวณวัดสูงและพื้นที่ใกล้เคียง ได้แก่ ชิ้นส่วนอาคารท�าด้วยศิลาแลงและหินทราย กระจายอยู่เป็นจ�านวนมากภายในวัดสูง
         หัวสิงห์หรือหน้ากาล (?) ท�าด้วยศิลาภายในศาลเจ้าพ่อน้อยด้านหน้าวัดสูง รวมถึงชิ้นส่วนปฏิมากรรมหินทรายจ�าหลักเป็นรูปกลีบบัว
         แบบขอม ที่เก็บรักษาไว้ภายในวัดเสาไห้ เป็นต้น จากหลักฐานเหล่านี้มีความเป็นไปได้ว่าในยุคหนึ่ง บริเวณวัดสูงซึ่งเป็นโคกเนินสูงอยู่
         แต่เดิม อาจเคยมีอาคารในวัฒนธรรมขอมปรากฏอยู่

               เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมขอมในเขตจังหวัดสระบุรียังคงเป็นปริศนาอยู่หลายอย่าง เช่น อ�านาจทางการเมืองและ
         วัฒนธรรมขอมบนลุ่มน�้าป่าสักแห่งนี้ที่ยังคงมีข้อมูลน้อย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะอยู่ในช่วงปลายของยุคอาณาจักรขอม ก่อนที่จะก้าว
         เข้าสู่สมัยกรุงศรีอยุธยาในเวลาต่อมา


         สระบุรีในสมัยกรุงศรีอยุธยา


               พื้นที่ลุ่มน�้าป่าสักแห่งนี้คงมีการอยู่อาศัยเป็นบ้านเมืองมาโดยตลอด แต่การสถาปนาให้เป็นเมืองหนึ่งในอาณาจักรอยุธยา
         ได้ปรากฏชื่อ “เมืองสระบุรี” ครั้งแรกในพระราชพงศาวดารครั้งแผ่นดินสมเด็จพระมหินทราธิราช (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๑๑ -
         ๒๑๑๒) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับกรุงหงสาวดี เวลานั้นสมเด็จพระมหินทราธิราชได้ส่งพระราชสาส์น
         ไปยังพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งกรุงเวียงจันทน์ เพื่อให้ส่งก�าลังมาช่วยกรุงศรีอยุธยา ทว่าเมื่อกองทัพจากล้านช้างเดินทางมายัง
         บ้านหมากสองต้น แขวงเมืองสระบุรี (คาดว่าคือบริเวณบ้านหมาก อ�าเภอมวกเหล็ก) ได้ถูกกองก�าลังของพม่าซุ่มโจมตีจนแตกหนี
         กลับไป จากข้อความดังกล่าวบ่งบอกว่าสระบุรีมีสถานภาพเป็นเมืองมาก่อน พ.ศ. ๒๑๑๒ แล้ว

               สมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าเมืองสระบุรีน่าจะตั้งขึ้นพร้อมกับหัวเมืองชั้นในอื่นๆ คือ เมืองนนทบุรี
         สาครบุรี (สมุทรสาคร) นครชัยศรี รวมไปถึงเมืองฉะเชิงเทรา ราว พ.ศ. ๒๐๙๒ โดยมีหน้าที่ในการรวบรวมผู้คนยามเกิดศึกสงคราม
         เพราะก่อนหน้านั้น คราวสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับหงสาวดีในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ หัวเมืองหน้าด่านเวลานั้น คือ
         สุพรรณบุรี ไม่สามารถต้านทานก�าลังข้าศึกได้ ซ�้าร้ายยังเป็นฐานที่มั่นให้กับข้าศึกได้ใช้ซ่องสุมก�าลังเพื่อโจมตีพระนครในเวลาต่อมา
         ภายหลังจากเหตุการณ์นี้จึงเกิดมีหัวเมืองชั้นในเกิดขึ้น



         10                                                                                    สมุดภาพสระบุรี
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17