Page 11 - สมุดภาพนนทบุรี | ประมวลภาพเก่าของจังหวัดนนทบุรี โดยความร่วมแรงร่วมใจของชาวนนทบุรี
P. 11

อุโบสถวัดปราสาท ต�าบลบางกร่าง อ�าเภอเมืองนนทบุรี   ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี (หลังเก่า)
               เป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาที่มีความงดงาม  ใช้งานช่วง พ.ศ. ๒๔๗๑ – ๒๕๓๕
               มากที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดนนทบุรี             และเคยใช้เป็นโรงเรียนราชวิทยาลัยมาก่อน






                                            ครั้นถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปลี่ยนแปลง

                                     ฐานะของเมืองนนทบุรีอีกครั้ง โดยโปรดเกล้าฯ ให้ยุบระบบมณฑลเทศาภิบาล เมื่อวันที่
                                     ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ แล้วให้เมืองนนทบุรีเข้าสังกัดอยู่กับกรุงเทพพระมหานคร
                                     แล้วใช้ค�าเรียกว่า “จังหวัดนนทบุรี” มีฐานะเป็นจังหวัดรอบนอกกรุงเทพพระมหานคร
                                            จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๑ กระทรวงมหาดไทยได้ขอใช้อาคารไม้  ๒ ชั้น รูปแบบโคโลเนียล

                                     ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น�้าเจ้าพระยา ต�าบลบางขวาง มาเป็นศาลากลางจังหวัดนนทบุรีหลัง
                                     ที่ ๒ (อาคารไม้หลังนี้ เดิมเป็นของกระทรวงยุติธรรมเพื่อจัดตั้งเป็นโรงเรียนกฎหมาย
                                     ต่อมาจึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตั้งเป็นโรงเรียนราชวิทยาลัย

                                     กระทรวงธรรมการ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ และยุบเลิกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘)
                                            หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้
                                     ตัดถนนในพื้นที่ฝั่งตะวันออก เชื่อมระหว่างจังหวัดนนทบุรี – กรุงเทพฯ ขึ้นเป็นสายแรก

                                     เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖ ชื่อ ถนนประชาราษฎร และตัดถนนเลียบแม่น�้าเจ้าพระยาขึ้นเป็นสาย
                                     ที่สอง ชื่อ ถนนพิบูลสงคราม ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๙๐ จึงได้ตัดถนนจากตัวเมืองนนทบุรี
                                     ไปยังอ�าเภอปากเกร็ด และไปสิ้นสุดที่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น�้าเจ้าพระยาที่
                                     ต�าบลบ้านกลาง อ�าเภอเมืองปทุมธานี ชื่อ ถนนติวานนท ซึ่งนับว่าเป็นถนนสายแรกๆ

                                     ของจังหวัดนนทบุรีที่ตัดเข้าสู่พื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น�้าเจ้าพระยา เป็นการเปิดพื้นที่
                                     และสร้างความเจริญสู่จังหวัดนนทบุรีอย่างมหาศาล

                                            จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๓ ในสมัยของนายสอาด ปายะนันทน์ ด�ารงต�าแหน่งผู้ว่า
                                     ราชการจังหวัดนนทบุรี ได้สร้างถนนเข้าสู่พื้นที่ฝั่งตะวันตกของจังหวัดนนทบุรีขึ้นเป็น
                                     ครั้งแรก ชื่อ ถนนสำยบำงกรวย – ไทรน้อย โดยการใช้เส้นทางเดิมของทางรถไฟ

                                     สายบางบัวทอง ซึ่งเส้นทางระหว่างบางกรวย – บางศรีเมือง – บางใหญ่ – บางบัวทอง
                                     ได้เปิดใช้สัญจรเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖ และมีการสร้างถนนเชื่อมต่อกับถนนจรัญสนิทวงศ์



                                                                                             สมุดภำพนนทบุรี   9
                                                                                                           Ÿ
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16