Page 10 - สมุดภาพนนทบุรี | ประมวลภาพเก่าของจังหวัดนนทบุรี โดยความร่วมแรงร่วมใจของชาวนนทบุรี
P. 10

พื้นภูมิเมืองนนทบุรี




                  จังหวัดนนทบุรีตั้งอยู่ทางทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร มีภูมิประเทศอยู่ใน
           พื้นที่ราบลุ่มดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น�้าเจ้าพระยา มีคูคลองจ�านวนมากมาย ทั้ง
           ล�าคลองธรรมชาติ และคลองขุดใหม่ ท�าให้พื้นที่ของนนทบุรีมีความอุดมสมบูรณ์ เป็น
           อู่ข้าวอู่น�้าของไทยมาตั้งแต่ครั้งอดีต ท�าให้นนทบุรีมีบทบาทส�าคัญเกี่ยวเนื่องอยู่ในหน้า

           ประวัติศาสตร์มาโดยตลอดทุกยุคทุกสมัย

                  ด้วยความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกท�าสวนท�านา จึงมีผู้คนเข้ามาตั้ง
           ถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่อย่างหนาแน่น และมีพัฒนาการเป็นชุมชนใหญ่อย่างต่อเนื่องมา
           ตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น โดยชุมชนที่ส�าคัญและเก่าแก่ คือ บ้ำนตลำดขวัญ
           ซึ่งมีผู้คนตั้งบ้านเรือนเรียงรายไปตามแม่น�้าเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ตั้งแต่บริเวณวัด

           หัวเมือง (ต่อมาเป็นวัดร้าง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งอาคารโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า) จนถึง
           วัดท้ายเมือง

                  ครั้นถึงรัชสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงพิจารณาว่าชุมชนในย่านนี้มี
           ประชากรหนาแน่นและเป็นจุดยุทธศาสตร์ส�าคัญ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะชุมชนบ้าน
           ตลาดขวัญขึ้นเป็น “เมืองนนทบุรี” พร้อมกับเมืองสาครบุรี (สมุทรสาคร) และเมือง
           นครชัยศรี (นครปฐม) เมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๒ ดังปรากฏในพระราชพงศาวดาร ความตอนหนึ่ง

           ว่า “...ให้เอาบ้านท่าจีน ตั้งเป็นเมืองสาครบุรี ให้เอาบ้านตลาดขวัญตั้งเป็นเมืองนนทบุรี
           ให้แบ่งเอาแขวงเมืองราชบุรี แขวงเมืองสุพรรณบุรี ตั้งเป็นเมืองนครไชยศรี...”

                  เมืองนนทบุรีได้รับการพัฒนาและมีความเจริญเติบโตก้าวหน้ามาโดยตลอด
           มีการย้ายเมืองจากตลาดขวัญมาอยู่ริมแม่น�้าเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก มีการตั้งด่านเก็บ
           ภาษีอากร ซึ่งท�าให้เราสามารถพบเห็นศิลปวัตถุในสมัยอยุธยาอยู่ตลอดริมคลองหรือ

           แม่น�้าเจ้าพระยาเดิม เช่น วัดปราสาท วัดค้างคาว และวัดชมภูเวก

                  ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกอบกู้เอกราชและสถาปนากรุงธนบุรี
           ขึ้นเป็นราชธานีแห่งใหม่ ถึง พ.ศ. ๒๓๑๗ พระยาเจ่งได้น�าชาวมอญอพยพเข้ามาพึ่ง
           พระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดเกล้าฯ ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่
           บางพูดและเกาะเกร็ด กลายเป็นชุมชนส�าคัญของชาวมอญในเวลาต่อมา

                  เมืองนนทบุรีในยุครัตนโกสินทร์ได้รับการพัฒนาและเจริญเติบโตเป็นหัวเมือง
           ส�าคัญ โดยเฉพาะรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยเป็นนิวาสสถาน

           เดิมของสมเด็จพระศรีสุลาลัยพระราชชนนีในรัชกาลที่ ๓ ท�าให้ราชินิกูล (ญาติฝ่าย
           มารดา) ได้รับการคัดเลือกเข้าไปถวายงานในพระบรมมหาราชวัง
                  ในช่วงรัชสมัยของรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ เมืองนนทบุรีมีพัฒนาการอย่าง

           ก้าวกระโดด โดยเปลี่ยนชื่อเป็น เมืองนนทบุรีศรีมหำอุทยำน และมีการขุดคลอง
           เพิ่มใหม่หลายสาย เช่น คลองมหาสวัสดิ์ คลองทวีวัฒนา คลองพระราชาพิมล อีกทั้ง
           ยังผนวกเมืองนนทบุรีเข้าสังกัดกระทรวงนครบาล และย้ายเมืองมาตั้งอยู่บริเวณ
           ตลาดขวัญ ซึ่งนับว่าเป็นที่ตั้งศาลากลางแห่งแรกของเมืองนนทบุรี




           8   สมุดภำพนนทบุรี
             Ÿ
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15