Page 8 - :: สมุดภาพนครนายก :: ประมวลภาพถ่ายเก่าของจังหวัดนครนายก โดยความร่วมแรงร่วมใจของชาวนครนายก
P. 8
ค�าน�า
ในที่สุดนครนายกก็มีสมุดภาพเล่มแรกเมื่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครนายก โดยการน�าของนายสัญญา
บุญ-หลง เห็นชอบอนุมัติให้จัดสรรงบประมาณพิมพ์หนังสือชื่อ สมุดภำพนครนำยก ขึ้น เพื่อเก็บหลักฐานภาพเก่า
ต่างๆ ในนครนายกไว้เป็นหลักฐาน และเพื่อแจกจ่ายไปยังสถานศึกษาต่างๆ เพื่อประโยชน์ทางการค้นคว้า
นครนายกอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ จะขับรถไปทางเส้นรังสิต – นครนายกก็ได้ หรือไปทางทางด่วนบางปะอิน
ผ่านหนองแค วิหารแดง มุ่งตรงไปทางอ�าเภอบ้านนาและอ�าเภอเมืองก็ได้ เส้นทางสายหลังนี้แลเห็นทิวเขาเป็นฉากหลัง
ดูงดงาม น่าถ่ายรูปเป็นอันมาก
ตราประจ�าจังหวัดคือ ช้างชูรวงข้าว
สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและสถานที่ส�าคัญของนครนายก เมืองอันเงียบสงบ ได้แก่ น�้าตกสาริกา น�้าตก
นางรอง น�้าตกวังตะไคร้ น�้าตกเหวนรก น�้าตกกะอาง อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ วัดใหญ่ทักขิณาราม วัดดง เขื่อนขุนด่าน
ปราการชล เมืองโบราณดงละคร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
เพลงพื้นบ้านที่เคยนิยมร้องเล่นกันในนครนายกคือ เพลงหน้าใย หรือเพลงโช้ กับเพลงระบ�าบ้านนา
ค�าขวัญประจ�าจังหวัดคือ “นครนำยก เมืองในฝันที่ใกล้กรุง ภูเขำงำม น�้ำตกสวย รวยธรรมชำติ ปรำศจำกมลพิษ”
การปกครองของนครนายกแบ่งออกเป็น ๔ อ�าเภอ คือ ๑. อ�าเภอเมือง ๒. อ�าเภอบ้านนา ๓. อ�าเภอปากพลี
๔. อ�าเภอองครักษ์ รวมประชากรทั้งสิ้นราว ๒๖๐,๐๐๐ กว่าคน
หนังสือ วัฒนธรรม พัฒนำกำรทำงประวัติศำสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญำจังหวัดนครนำยก พิมพ์เมื่อ พ.ศ.
๒๕๔๔ กล่าวว่าที่บ้านห้วยกรวด ต�าบลเขาเพิ่ม อ�าเภอบ้านนา นักโบราณคดีเคยขุดพบโกลนขึ้นรูปขวานหิน และเศษ
ภาชนะดินเผาต่างๆ เป็นจ�านวนมาก
ส่วนที่เมืองโบราณดงละคร อ�าเภอเมือง ก็มีคูน�้าคันดินรูปวงกลมอายุราวพันกว่าปี ชาวบ้านเรียกบริเวณนี้
ว่าเมืองลับแล
นครนายกเป็นเมืองบนเส้นทางยุทธศาสตร์ ระหว่างอยุธยากับดินแดนเขมร หรือกัมพูชา สิ่งที่น่าสนใจคือ
นครนายกเคยเป็นที่เลี้ยงช้างและเป็นท่าข้ามของช้างมาแต่โบราณ มีบันทึกในพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จ
พระพนรัตน์ว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๒๖๔ พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระเสด็จไปไล่ช้างเถื่อนที่นครนายกในคืนเดือนหงายจนเกิดอุบัติเหตุ
สมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงราชานุภาพทรงเล่าในหนังสือนิทำนโบรำณคดี (เรื่องที่ ๒๑) ว่าแต่ก่อนช้างเคยอยู่
ในทุ่งหลวง ตั้งแต่บางกะปิไปจนถึงนครนายก ครั้นมีการขุดคลองรังสิตในสมัยรัชกาลที่ ๕ ช้างเถื่อนก็ถอยหนีห่างออก
ไปจนไปอยู่ทางนครนายกโดยมาก พระองค์เคยเสด็จไปปราจีนบุรีทางคลองรังสิตและล�าน�้าองครักษ์ยังเคยพบโขลงช้าง
เถื่อนว่ายน�้าผ่านหน้าเรืออย่างใกล้
ช้างในทุ่งหลวงนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงราชานุภาพกล่าวว่าเป็นช้างส�าหรับจับไว้ใช้ในราชการเป็นประเพณี
มาแต่กรุงศรีอยุธยา จนถึง พ.ศ. ๒๔๕๐ เกิดเหตุช้างชนรถไฟตกจากรางที่เชียงราก ปทุมธานี ทางการจึงต้อนช้างในทุ่ง
หลวงไปอยู่ในป่าเชิงเขาใหญ่เมืองนครนายกจนหมด การจับช้างที่เพนียด (อยุธยา) ก็เป็นอันเลิก
ส่วนหนังสือวัฒนธรรม พัฒนำกำรทำงประวัติศำสตร์ฯ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในหน้า ๑๑๙ ว่าช้างนครนายกเคย
มีทางอ�าเภอบ้านนา มีผู้ดูแลช้างและเพนียดหรือคอกช้างที่หลังวัดไม้รวก อ�าเภอบ้านนา
แต่เดิมมา เมืองไทยเราไม่ค่อยสนใจท�าหนังสือในแนวประมวลภาพนัก คงเน้นท�าแต่หนังสือรวมข้อเขียนเป็น
หลัก พอเวลานานไป ภาพต้นฉบับแท้ๆ ก็ถูกแมลง เช่น ปลวก ตัวสามง่าม หนอนหนังสือกัดกินบ้าง ถูกไฟไหม้บ้าง
6 สมุดภำพนครนำยก