Page 11 - :: สมุดภาพนครนายก :: ประมวลภาพถ่ายเก่าของจังหวัดนครนายก โดยความร่วมแรงร่วมใจของชาวนครนายก
P. 11

เรื่องการจับช้างที่นครนายกนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงราชานุภาพ ทรงเล่าว่า บริเวณทุ่งหลวงทางทิศตะวันออก
               ของแม่น�้าเจ้าพระยา ตั้งแต่ทุ่งบางกะปิไปจนถึงเมืองนครนายก เป็นบริเวณที่มีช้างเถื่อนจ�านวนมาก ต่อเมื่อมีการขุดคลอง
               รังสิตและคลองสาขา ช้างเถื่อนเหล่านี้ก็ได้หนีไปอยู่บริเวณทุ่งหลวงแถบนครนายกเป็นจ�านวนมาก โดยทรงเล่าว่า “...แต่

               ช้ำงเถื่อนในทุ่งหลวงผิดกับช้ำงเถื่อนในที่อื่น ด้วยเป็นช้ำงโขลงของหลวงส�ำหรับแต่จับใช้รำชกำร และเคยอยู่ในทุ่งหลวงสืบ
               พงพันธุ์มำหลำยร้อยปี มีก�ำหนดต้อนเข้ำมำเลือกจับที่เพนียดเป็นครั้งครำว...ช้ำงที่ไม่จับก็ปล่อยกลับออกไปอยู่ในทุ่งหลวง
               ตำมเดิม เป็นประเพณีสืบมำตั้งแต่กรุงศรีอยุธยำจนสมัยรัตนโกสินทร์...”

                      ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พบว่ามี “กรมโขลง” ตั้งอยู่ที่บ้านนา ท�าหน้าที่รักษาช้างเถื่อน เมื่อจะมีการจับช้าง กรมโขลงจะ
               ท�าหน้าที่เลี้ยงดูช้างต่อให้สมบูรณ์ที่บ้านนา ซึ่งเป็นที่สมทบกันกับช้างต่อของหลวง จากนั้นหมอควาญกับพวกโพนช้างจึงจะ
               ออกไปปกช้างเถื่อน และที่บ้านนายังมีคอกเสาไม้ซุง สร้างไว้ส�าหรับรวบรวมช้างโขลงก่อนต้อนมาเพนียด เมื่อต้อนช้างเถื่อน
               เข้าคอกที่บ้านนาได้ ๒๐๐ – ๓๐๐ เชือก แล้วจึงจะต้อนไปยังเพนียดกรุงเก่า จึงเห็นได้ชัดว่าแหล่งช้างของเมืองนครนายก
               มีความส�าคัญมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อบ้านเมืองเข้าสู่ยุคใหม่มีความเจริญก้าวหน้าแล้ว ความ
               ส�าคัญในการใช้งานช้างจึงลดลง แต่การขยายพื้นที่ทางการเกษตรในเวลาต่อมา ก็เป็นจุดเปลี่ยนส�าคัญที่ท�าให้ลดพื้นที่อยู่อาศัย
               ของช้างเมืองนครนายกลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งในปัจจุบันบริเวณที่มีช้างอาศัยจึงมีเพียงพื้นที่ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติเท่านั้น


                      ความส�าคัญของเมืองนครนายกที่นอกเหนือจากการเป็นแหล่งช้างเมื่อในอดีตแล้ว สินค้าของป่าจากเมืองนครนายก
               ก็เป็นแหล่งส�าคัญ โดยเฉพาะไม้นานาชนิด ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในการสร้างบ้าน การต่อเรือ และการประมง ครั้งหนึ่งกิจการค้า
               ไม้จากเมืองนครนายกที่ล่องมาตามแม่น�้านครนายกไหลเข้าสู่แม่น�้าบางปะกงจึงสร้างรายได้ให้กับระบบเศรษฐกิจของเมือง
               นครนายกได้อย่างส�าคัญ และในภาคเกษตรกรรมยุคแรกที่นอกเหนือจากการท�านาข้าวแล้ว นครนายกยังเคยเป็นแหล่ง
               ปลูกอ้อยท�าน�้าตาลมาตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๔ โดยมีการส่งอ้อยไปหีบท�าน�้าตาลในโรงงานทั้งที่นครนายกและฉะเชิงเทรา ซึ่ง
               ความอุดมสมบูรณ์ทางภาคเกษตรกรรมเหล่านี้เป็นส่วนส�าคัญที่ท�าให้เมืองนครนายกเจริญเติบโตและมีผู้คนหลั่งไหลเข้ามา
               ตั้งรกรากและท�ามาหากินเป็นจ�านวนมาก

                      ส�าหรับผู้คนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองนครนายกนั้นมีความหลากหลายมาตั้งแต่ในอดีต ทั้งคนไทย คนลาว คนไทย
               มุสลิม และคนจีน โดยต่างมีพื้นเพแตกต่างกันดังนี้

                      ก. คนไทย ส่วนหนึ่งเป็นคนท้องถิ่นมาตั้งแต่เดิม และบางส่วนก็เป็นไพร่หลวงสังกัดกองช้าง เนื่องจากมีกองช้างอยู่
               ที่นครนายกมาตั้งแต่สมัยอยุธยา พบว่ามีการเรียกไพร่ที่ขึ้นสังกัดกองช้างเหล่านี้ว่า “คนนอก”


                      ข. คนลำว คนกลุ่มนี้เป็นพวกที่อพยพกวาดต้อนมาจากดินแดนล้านช้าง หรือประเทศลาวในปัจจุบัน พบว่ามีการ
               อพยพมา ๒ ระยะส�าคัญคือ

                      ระยะที่ ๑ ในสมัยกรุงธนบุรีราว พ.ศ. ๒๓๒๒ ในคราวที่เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพไปตีล้านช้าง ได้กวาดต้อน
               เอาลาวเวียงและลาวหัวเมืองฟากโขงตะวันออกมายังพื้นที่นครนายก รวมทั้งสระบุรี ลพบุรี ฉะเชิงเทรา ราชบุรี และจันทบุรี

                      ระยะที่ ๒ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เกิดขึ้นภายหลังกบฏเจ้าอนุวงศ์ เมื่อรัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาธรรมา
               เป็นแม่ทัพยกไปขับไล่กองทัพญวน ที่เข้ามาตั้งทัพในเขตเมืองพานและหัวพันห้าทั้งหกเมื่อคราวเจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ จึงได้
               มีการกวาดต้อนครอบครัวชาวลาวพวนจากเมืองพวนและเขตใกล้เคียงลงมาไว้ที่บ้านหมี่ สนามแจง เมืองลพบุรี ทัพคล้อ
               วังหลุม ทุ่งโพธิ์ ตะพานหิน เมืองพิจิตร และที่บ้านหัวลิง เมืองนครนายกเป็นแห่งแรกก่อนที่จะขยับขยายกระจายไปยังพื้น
               ที่อื่นๆ ของเมืองนครนายก


                      ค. คนไทยมุสลิม เป็นกลุ่มชาวมุสลิมจากเมืองปัตตานี อพยพกวาดต้อนมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ หลังศึกเมืองถลาง
               ด้วยมีการเข้าไปจัดการปัญหาหัวเมืองมลายูและยึดเอาเมืองปัตตานีเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๙ ในคราวนั้นจึงให้อพยพชาวเมืองเข้า



                                                                                           สมุดภำพนครนำยก   9
                                                                                                           Ÿ
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16