Page 12 - :: สมุดภาพนครนายก :: ประมวลภาพถ่ายเก่าของจังหวัดนครนายก โดยความร่วมแรงร่วมใจของชาวนครนายก
P. 12
มายังกรุงเทพมหานคร แล้วจึงกระจายไปยังชานเมืองเช่น พระประแดง พระโขนง มีนบุรี หนองจอก รวมถึงหัวเมืองใกล้
เคียงคือ อยุธยา ฉะเชิงเทรา นครนายก และเพชรบุรี คนไทยมุสลิมในนครนายกจึงมีพื้นเพมาดังกล่าว
ง. คนจีนอพยพ กลุ่มคนจีนน่าจะเริ่มต้นเข้ามาท�ามาหากินในนครนายกตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีเป็นต้นมา ซึ่งเป็น
ระยะที่คนจีนกลุ่มแต้จิ๋วเริ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานแถบอ่าวไทยฝั่งตะวันออก จนเมื่ออุตสาหกรรมน�้าตาลมีการขยายตัว
ที่ฉะเชิงเทราและชลบุรี จึงเริ่มมีการขยายตัวของชาวจีนเข้ามาปลูกอ้อยในพื้นที่นครนายกมากขึ้น ซึ่งพบว่ามีการประมูล
จัดเก็บอากรบ่อนเบี้ยในชุมชนชาวจีนที่นครนายกเป็นจ�านวนมากตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒ เป็นต้นมา นอกจากนี้ ในปี พ.ศ.
๒๔๑๑ ได้มีการตั้งกงสุลจีนในบังคับสยามที่ฉะเชิงเทรา ซึ่งกงสุลดังกล่าวมีอ�านาจดูแลมาถึงนครนายกด้วย ในขณะเดียวกัน
ได้มีการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ที่นับถือโดยชาวจีนเหล่านี้เข้ามาในพื้นที่นครนายกอีกด้วย ซึ่งได้มีการตั้งวัดของชาวคริสต์
ขึ้นได้หลายแห่งทั้งในท้องที่อ�าเภอเมือง อ�าเภอองครักษ์ และอ�าเภอบ้านนา จึงสะท้อนได้อย่างหนึ่งว่าในสมัยนั้นมีชาวจีน
ในนครนายกอยู่มากพอสมควร
ในส่วนของการจัดการปกครองส�าหรับเมืองนครนายกนั้น เมื่อครั้งอยู่ภายใต้ระบบจตุสดมภ์ที่ใช้มาตั้งแต่ครั้ง
กรุงศรีอยุธยาจนถึงรัชกาลที่ ๕ มีระบุในกฎหมายพระไอยการต�าแหน่งนาทหารหัวเมือง จ.ศ. ๑๒๙๘ (พ.ศ. ๒๐๒๐) ว่าเจ้า
เมืองนครนายกเป็นที่ “ออกพระพิบูรสงคราม” หรือ “พระยาพิบูลสงคราม” สถานะเมืองนครนายกเป็นหัวเมืองหน้าด่าน และ
ใช้การปกครองแบบระบบกินเมืองที่ให้เจ้าเมืองซึ่งเป็นคนในท้องถิ่นนั้นหรือสืบเชื้อสายจากเจ้าเมืองคนก่อน ท�าหน้าที่บริหาร
ปกครองและเก็บภาษีอากรจากราษฎรในท้องถิ่นโดยส่งเงินภาษีที่เก็บได้ส่วนหนึ่งให้แก่ส่วนกลาง จนเมื่อมีการปฏิรูปการเมือง
การปกครอง พ.ศ.๒๕๓๕ จึงได้มีการจัดตั้งกระทรวงต่างๆ ขึ้นเป็นจ�านวน ๑๒ กระทรวง และให้เมืองนครนายกเข้าสังกัด
ในกระทรวงมหาดไทย มีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าเมืองตามนโยบายจากส่วนกลาง
ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ จึงได้มีการรวบรวมเอาเมืองปราจีนบุรี เมืองฉะเชิงเทรา เมืองนครนายก และเมืองพนมสารคาม
จัดตั้งขึ้นมณฑลเทศาภิบาลปราจีนบุรี มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้บังคับบัญชา มีการแต่งตั้งผู้ว่าราชการเมืองมาจากส่วน
กลางให้ปกครองดูแล ท�าให้ระบบกินเมืองสิ้นสุดลงไป มีการจัดระบบการคลังและการศาลที่ใช้ข้าราชการจากส่วนกลางเข้า
มาแทนที่ มีการแบ่งส่วนการปกครองท้องที่ออกเป็น ๔ อ�าเภอ คือ อ�าเภอเมือง อ�าเภอท่าช้าง อ�าเภอหนองโพ และอ�าเภอ
องครักษ์ จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๕๖ จึงได้เปลี่ยนจากค�าว่า “เมืองนครนายก” มาเป็น “จังหวัดนครนายก” และได้เปลี่ยนแปลง
การแบ่งส่วนการปกครองท้องที่ออกเป็น ๔ อ�าเภอ คือ คือ อ�าเภอเมือง อ�าเภอเขาใหญ่ (ปากพลี) อ�าเภอบ้านนา และอ�าเภอ
องครักษ์ และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ จึงได้มีการยกเลิกระบบเทศาภิบาล
ต่อมาเมื่อเกิดภาวการณ์สงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้เกิดปัญหาสภาพเศรษฐกิจตกต�่า รัฐบาลไทยจึงมีนโยบายที่จะลด
ทอนรายจ่ายในการบริหารราชการ จึงได้มีการออกพระราชบัญญัติยุบและรวมการปกครองบางจังหวัด พ.ศ. ๒๔๘๕ ท�าให้มี
การยุบเลิกจังหวัดนครนายกลง โดยแบ่งให้อ�าเภอบ้านนาขึ้นกับจังหวัดสระบุรี และให้อ�าเภอเมืองนครนายก อ�าเภอปากพลี
และอ�าเภอองครักษ์ขึ้นกับจังหวัดปราจีนบุรี โดยให้เหตุผลว่า “เนื่องด้วยจังหวัดที่จะยุบนี้เป็นจังหวัดที่มีเขตท้องที่ไม่สู้กว้ำง
ขวำง ปริมำณของกำรงำนก็มีน้อย กำรคมนำคมสะดวก ควรที่จะยุบท้องที่ไปรวมอยู่ในควำมปกครองของจังหวัดใกล้เคียงได้”
แต่ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๘๙ รัฐบาลจึงได้ยกฐานะให้จังหวัดที่ถูกยุบได้ยกขึ้นเป็นจังหวัดอีกครั้งหนึ่ง เมืองนครนายกจึงได้กลับ
คืนเป็น “จังหวัดนครนายก” และแบ่งส่วนการปกครองท้องที่ออกเป็น ๔ อ�าเภอ คือ คือ อ�าเภอเมือง อ�าเภอปากพลี อ�าเภอ
บ้านนา และอ�าเภอองครักษ์ ตราบจนทุกวันนี้
* เรียบเรียงปรับปรุงจาก “เมืองนครนายก : ชุมชนเกษตรกรรม – เมืองนครนายก” โดย ร้อยเอก ศรศักร ชูสวัสดิ์ และ
“สถานภาพทางการปกครองของนครนายกถึงสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕” โดย ร้อยเอกหญิง ชมนาด
เทียมพิภพ ใน ประวัติศำสตร์เมืองนครนำยก. กองวิชาประวัติศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. กรุงเทพฯ : เมือง
โบราณ, ๒๕๓๙.
10 สมุดภำพนครนำยก