Page 10 - :: สมุดภาพนครนายก :: ประมวลภาพถ่ายเก่าของจังหวัดนครนายก โดยความร่วมแรงร่วมใจของชาวนครนายก
P. 10

พื้นภูมิเมืองนครนายก*




                 จังหวัดนครนายกเป็นพื้นที่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน เป็นดินแดนที่มีมนุษย์อยู่อาศัยมาอย่างยาวนาน ด้วย
           พบหลักฐานทางโบราณคดีทั้งในยุคก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงยุคประวัติศาสตร์ ซึ่งปรากฏอยู่ในซากเมืองโบราณดงละคร

           (ต�าบลดงละคร อ�าเภอเมือง จังหวัดนครนายก) ที่มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุยุคก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องกันจนถึงยุค
           ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยและอยุธยา อาทิ ขวานหิน ลูกปัด ขวานส�าริด ระฆังหิน เครื่องถ้วยดินเผาสุโขทัย และพระพุทธรูป
           อยุธยา เป็นต้น และได้มีข้อสรุปทางวิชาการว่าเมืองดงละครมีพัฒนาการร่วมสมัยกับเมืองดงพระรามและเมืองศรีมโหสถใน
           จังหวัดปราจีนบุรี จึงถือได้ว่าเมืองดงละครนี้เป็นชุมชนโบราณที่เป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการเมืองนครนายกในเวลาต่อมา

                 จนเมื่อชุมชนเมืองในลุ่มน�้าทะเลสาบเขมรและลุ่มแม่น�้าเจ้าพระยาได้มีพัฒนาการเติบโตขึ้นเป็นอาณาจักรใหญ่ทั้ง
           เมืองพระนคร เมืองสุพรรณบุรี เมืองลพบุรี และกรุงศรีอยุธยามาตามล�าดับ บริเวณที่ตั้งของเมืองนครนายกจึงอยู่ในพื้นที่
           เส้นทางการติดต่อของอาณาจักรที่มีอิทธิพลเหล่านี้ เมื่ออยู่ในพื้นที่ของการติดต่อไปมาระหว่างกัน จึงท�าให้ชุมชนโบราณใน
           เขตนครนายกมีการขยายตัวขึ้นไปตามกัน และกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ริมน�้า เช่น ชุมชนริมคลองบ้านนา ชุมชน
           บริเวณบ้านกระโดน ชุมชนบริเวณบ้านพรหมณี ชุมชนบริเวณวัดท่าแดง และชุมชนบริเวณตัวเมืองนครนายกในปัจจุบัน
           ครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาเจริญเติบโตสามารถแผ่อ�านาจปกครองหัวเมืองทั้งหลายในลุ่มแม่น�้าเจ้าพระยาได้อย่างเข้มแข็งแล้ว
           จึงได้ปรากฏหลักฐานลายลักษณ์อักษรถึงชื่อ “เมืองนครนายก” เป็นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งเป็นสิ่งที่

           แสดงให้เห็นว่าชุมชนในพื้นที่ของนครนายกนั้นได้ขยายตัวขึ้นจนเป็นเมืองนครนายกแล้ว และอยู่ภายใต้อิทธิพลของกรุงศรี
           อยุธยาด้วยเช่นกัน

                 ในกฎหมายพระไอยการต�าแหน่งนาทหารหัวเมือง จ.ศ. ๑๒๙๘ (พ.ศ. ๒๐๒๐) ซึ่งตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรม
           ไตรโลกนาถ ได้ก�าหนดต�าแหน่งศักดินาของข้าราชการหัวเมืองถึง “ออกพระพิบูรสงคราม” ว่าเป็นต�าแหน่งเจ้าเมืองนครนายก
           และระบุว่า “เมืองนครนายกมีฐานะเป็นเมืองจัตวา เจ้าเมืองมีศักดินา ๓,๐๐๐” แต่ประเด็นที่มาของชื่อ “นครนายก” นี้ แบ่ง
           ออกไปหลายแนวทาง อาทิ

                 ก. กำรยกค่ำนำ ด้วยกล่าวกันว่าพระมหากษัตริย์โบราณทรงยกเว้นอากรค่านาในเขตเมืองนี้ อนุญาตให้ราษฎรท�า
           มาหากินได้ตามใจชอบ ผู้คนทั่วไปจึงเรียกชื่อเมืองกันว่า “นครนายก” ซึ่งเป็นเหตุผลที่เข้าเค้าและยอมรับกันอย่างแพร่หลาย

                 ข. มำจำกค�ำว่ำ “สมุหนำยก” ด้วยเป็นเมืองที่อยู่ใกล้ชิดกรุงศรีอยุธยา และอยู่ในสังกัดของสมุหนายก ผู้คนจึง

           นิยมเรียกเมืองนี้ว่า “สมุหนายก” แล้วจึงกลายเป็น “นครนายก” ในที่สุด

                 ค. มำจำกค�ำขอมโบรำณว่ำ “โกระยก” มีความหมายว่า แผ่นดินที่หาเอามา เมื่อนานไปค�านี้ได้เพี้ยนเป็น
           “นครนายก”

                 ง. นครนำยกมำจำกบ้ำนนำ ตามข้อสรุปของรัชกาลที่ ๔ ที่ทรงเชื่อว่าบ้านเมืองในเขตตะวันออกของไทยมักมีชื่อ
           เรียกทั้งค�าไทยและค�าเขมร อย่างชื่อเมืองแปดริ้วและเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งค�าว่า “นครนายก” เป็นภาษาสันสกฤตที่หมายถึง
           บ้านนา ซึ่งเป็นค�าที่เขมรเรียก ส่วนค�าไทยก็มีชื่อเรียกอยู่แล้วคือ “บ้านนา”

                 ทั้งนี้ ด้วยที่ตั้งของเมืองนครนายกอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยาห่างเพียงแค่เดินเท้าเป็นเวลา ๒ วัน
           และด้วยเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติมากมาย โดยเฉพาะของป่าและสัตว์ป่า เมื่อมีการพระราช
           สงครามเกิดขึ้นในพระราชอาณาจักร เมืองนครนายกจึงเป็นพื้นที่ส�าหรับ “จับช้างป่า” ด้วยเป็นแหล่งที่มีช้างชุกชุม จึงเป็น
           บริเวณที่มีการต้อนช้างเพื่อจับไปเป็นช้างหลวง ท�าให้มีกองช้างอยู่ที่เมืองนครนายก ในพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยามีบันทึก

           ว่า พ.ศ. ๒๒๖๔ พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระได้เสด็จไปไล่ช้างเถื่อนที่นครนายกในคืนเดือนหงายจนเกิดอุบัติเหตุ และในยุคกรุง
           รัตนโกสินทร์ก็ได้มีข่าวการพบช้างเผือกทั้งในสมัยรัชกาลที่ ๔ แต่ว่าล้มเสียก่อน จนถึงในสมัยรัชกาลที่ ๕ ว่าพบโขลงช้างที่มี
           ช้างเผือกอยู่เชือกหนึ่งที่นครนายก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปก (ต้อน) ช้างโขลงนั้นเข้ามาคล้องช้างหน้าพระที่นั่งที่เพนียดกรุงเก่า




           8   สมุดภำพนครนำยก
             Ÿ
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15