Page 99 - การประยุกต์ทฤษฎีใหม่สู่ โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง | กรมการพัฒนาชุมชน
P. 99

๑. ดินที่ขุดท�าหนองน�้านั้นให้น�ามาท�าโคก บนโคกปลูก “ป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง” ตาม

                           แนวทางพระราชด�าริ คือ ใช้เป็นไม้ใช้สอยเพื่อสร้างบ้านเรือน ช่วยสร้างความร่มเย็น ความชุ่มชื้นใน
                           พื้นที่ และควรปลูกป่าเป็นไม้ ๕ ระดับ ได้แก่ ไม้สูง ไม้กลาง ไม้เตี้ย ไม้เรี่ยดินและพืชหัวใต้ดิน เพื่อให้
                           รากสานกันหลายระดับ ต�าแหน่งของป่าควรอยู่ทิศตะวันตกเพื่อช่วยบังแสงอาทิตย์ยามบ่าย

                                  ๒. หนองน�้า ต้องขุดลึกมากกว่า ๓ เมตร เพื่อให้มีน�้าเหลือพอในหน้าแล้ง มีความต่างระดับ
                           ลึกตื้นเพื่อปลาจะวางไข่บริเวณตะพัก ควรปลูกหญ้าแฝกไว้บริเวณรอบๆ เพื่อป้องกันการพังทลายของ

                           ขอบบ่อและเพื่อให้น�้ากระจายไปเต็มพื้นที่ ให้ขุด “คลองไส้ไก่” โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่ เพื่อให้
                           น�้ากระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มขึ้น ลดพลังงานในการรดน�้าต้นไม้ ในคลองไส้ไก่นั้นท�าหลุมขนมครก
                           และฝายทดน�้าไปด้วย

                                  ๓. นา ยกคันนาให้สูงอย่างน้อย ๑ เมตร ความกว้างตามความเหมาะสม เพื่อให้นาสามารถ
                           กักเก็บน�้าไว้ได้ในยามน�้าหลาก และปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดินด้วยการ

                           ท�าเกษตรอินทรีย์ คืนชีวิตเล็กๆ หรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดิน ข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่เติบโตด้วยดินที่
                           อุดมสมบูรณ์จะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคและแมลง

                                  ๔. คันนาทองค�า บนคันนาและโดยรอบพื้นที่ ปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่
                           เลี้ยงปลา ท�าให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน ก่อนเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า
                          คือ ท�าบุญ ท�าทาน เก็บรักษา ค้าขาย และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย



















































                                                                                                         95
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104