Page 102 - การประยุกต์ทฤษฎีใหม่สู่ โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง | กรมการพัฒนาชุมชน
P. 102
ลดหลั่นตามระดับความสูง โดยชั้นแรกควรมีความสูงเท่ากับระดับของ
แสงแดดที่ส่องลงไปถึง ปลูกไม้น�้าหรือพืชน�้าเพื่อให้ปลาสามารถวางไข่
อนุบาลสัตว์น�้าได้ และเป็นที่อยู่อาศัย
คน ออกแบบให้เหมาะสมกับความต้องการ ฐานะ และก�าลัง
ของเจ้าของที่ดิน และต้องผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ลึกซึ้งถึงวิธีการ
ต่างๆ นอกจากความรู้แล้วยังต้องฝึกเรื่องความเพียร ความอ่อนน้อม
ถ่อมตน
อย่างไรก็ตาม “โคก หนอง นา” อาจต้องปรับใช้ให้เหมาะสม
กับสภาพพื้นที่ ในกรณีที่พื้นที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง
หรือภูเขา
การสร้างหลุมขนมครกจะถูกน�าไปใช้ในกรณีที่ต้องการฟื้นฟู
พื้นที่เขาที่เป็นลักษณะเขาหัวโล้น สภาพพื้นที่ป่าบนภูเขาที่ถูกรุกล�้า
ท�าลาย แห้งแล้ง ขาดความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ
และเป็นเหตุให้เกิดภัยธรรมชาติต่างๆ อาทิ น�้าหลาก ดินถล่ม ภัยแล้ง
รวมไปถึงไฟป่า ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ จ�าเป็นต้อง
มีการฟื้นฟูพื้นที่ป่าที่เสื่อมสภาพให้กลับมาอุดมสมบูรณ์
การน�า “โคก หนอง นา” มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่
ในลักษณะนี้ ต้องท�าให้สอดคล้องกับภูมิสังคม เพราะภูเขามีลักษณะ
เป็นโคกตามธรรมชาติ จึงไม่จ�าเป็นต้องสร้างโคก
เน้นการปลูกป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง เพื่อสร้างสมดุล
ให้แก่ระบบนิเวศ แต่เนื่องจากพื้นที่ขาดความชุ่มชื้น จึงต้องเพิ่ม
ความชุ่มชื้นโดยการสูบน�้าจากร่องเขามาที่บ่อเก็บน�้าและกระจายผ่าน
คลองไส้ไก่ให้ทั่วพื้นที่
หนอง เกิดจากการกั้นฝายในร่องเขา เพื่อเก็บน�้าไว้ สร้างบ่อ
เก็บน�้าไว้บนพื้นที่สูง โดยสูบน�้าจากฝายขึ้นมาเก็บในบ่อเก็บน�้า ด้วย
พลังงานทดแทน และปล่อยน�้าผ่านคลองไส้ไก่ซึ่งขุดไล่ตามระดับชั้น
ความสูงของพื้นที่ เพื่อกระจายความชุ่มชื้น ปลูกแฝกเพื่อป้องกันการ
พังทลายของดิน
นา ท�านาในรูปแบบขั้นบันได ยกหัวคันนาให้สูงและกว้าง เพื่อ
กักเก็บน�้าฝนในท้องนา และปลูกแฝก ท�านาน�้าลึก เป็นนาอินทรีย์
โดยการใช้น�้าควบคุมวัชพืชและเร่งผลผลิต หากเป็นพื้นที่ชุ่มน�้าแบบ
ภาคใต้ ก็จะมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไปในรายละเอียด
สวนกล้วยและความหลากหลายของพืชพันธุ์
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ อ�าเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
(พระอาจารย์สังคม ธนปัญโญ)
98