Page 51 - การประยุกต์ทฤษฎีใหม่สู่ โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง | กรมการพัฒนาชุมชน
P. 51

หลักปรัชญา


                                    ของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม                                  ่





                                  ๓.๑ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                                  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพระราชด�าริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
                           มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งพระราชทานให้แก่สังคมไทยในช่วงทศวรรษที่ ๓๐
                           โดยมีหลักคิดอยู่ที่การด�ารงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชนและรัฐบาล
                           ให้ด�าเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

                                  ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจ�าเป็นที่จะต้องมี

                           ภูมิคุ้มกันส�าหรับตัวที่ดีพอสมควร ต่อผลกระทบที่เกิดจากภายนอกและภายใน อีกทั้งต้องอาศัยความ
                           รอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการน�าวิชาการต่างๆ มาใช้ ขณะเดียวกันก็ต้องเสริมสร้าง
                           พื้นฐานจิตใจของประชาชนคนในชาติ ให้มีส�านึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และการด�าเนินชีวิต
                           ด้วยความเพียรอย่างอดทน

                                  พระราชด�ารัส  พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร  มหาภูมิพลอดุลยเดช
                           มหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้า ฯ ถวายชัยมงคล
                           เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา ฯ พระราชวังดุสิต

                           วันพฤหัสบดี ที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
                                         “...การจะเป็นเสือนั้นไม่สำาคัญ.    สำาคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมี

                                  พอกิน.    แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่า  อุ้มชูตัวเองได้  ให้มีพอเพียงกับ
                                  ตัวเอง.    อันนี้ก็เคยบอกว่าความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่า  ทุกครอบครัว
                                  จะต้องผลิตอาหารของตัว  จะต้องทอผ้าใส่เอง.    อย่างนั้นมันเกินไป  แต่ว่า
                                  ในหมู่บ้านหรือในอำาเภอ  จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร.    บางสิ่งบางอย่างที่
                                  ผลิตได้มากกว่าความต้องการ   ก็ขายได้  แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่  ไม่ต้อง

                                  เสียค่าขนส่งมากนัก.    อย่างนี้ท่านนักเศรษฐกิจต่าง ๆ   ก็มาบอกว่าล้าสมัย.
                                  จริง อาจจะล้าสมัย คนอื่นเขาต้องมีการเศรษฐกิจ  ที่ต้องมีการแลกเปลี่ยน
                                  เรียกว่าเป็นเศรษฐกิจการค้า  ไม่ใช่เศรษฐกิจความพอเพียง  เลยรู้สึกว่า
                                  ไม่หรูหรา.    แต่เมืองไทยเป็นประเทศที่มีบุญอยู่ว่า  ผลิตให้พอเพียงได้ ...”

                                         “...ถ้าสามารถที่จะเปลี่ยนไป  ทำาให้กลับเป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียง

                                  ไม่ต้องทั้งหมด  แม้แค่ครึ่งก็ไม่ต้อง  อาจจะสักเศษหนึ่งส่วนสี่  ก็จะสามารถ
                                  อยู่ได้.    การแก้ไขอาจจะต้องใช้เวลา  ไม่ใช่ง่ายๆ.    โดยมากคนก็ใจร้อน
                                  เพราะเดือดร้อน  แต่ว่าถ้าทำาตั้งแต่เดี๋ยวนี้  ก็สามารถที่จะแก้ไขได้. ...”


                                  ตั้งแต่ทรงครองสิริราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
                           มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  บรมนาถบพิตร  เสด็จพระราชด�าเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร
                           ทั่วราชอาณาจักรเรื่อยมา ทอดพระเนตรสภาพภูมิอากาศ ฟ้า ดิน ตามจังหวัดต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาค
                           ทรงแลเห็นทุกข์ยากแร้นแค้นของราษฎรด้วยพระองค์เอง จึงมีพระราชด�าริพัฒนาองค์ความรู้
                           เหล่านี้ขึ้นเป็นหลักปรัชญาได้อย่างสมบูรณ์ คือ เศรษฐกิจพอเพียง

                                                                                                         47
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56