Page 13 - ประมวลภาพเก่า งานศิลป์ และข้าวของจังหวัดระนอง
P. 13
จารึกพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. และพระนามาภิไธยย่อ สก. บริเวณพลับพลาศิลาจารึกที่ตำาบล
จปร. อำาเภอกระบุรี จังหวัดระนอง
รถไฟจากตัวเมืองชุมพรข้ามเทือกเขาบรรทัดมายังอำาเภอกระบุรี แล้วไปสิ้นสุด
้
ที่สถานีเขาฝาชีริมแม่นำาละอุ่น เส้นทางรถไฟสายนี้ ยาวประมาณ ๙๐ กิโลเมตร
โดยทหารญี่ปุ่นได้เป็นผู้ลงมือก่อสร้างเองทั้งหมด ต่อมาเมื่อกองทัพญี่ปุ่นพ่ายแพ้
สงครามในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ กองทัพทหารสัมพันธมิตรได้เข้ามาปลดอาวุธ
ทหารญี่ปุ่น และได้รื้อถอนเส้นทางรถไฟสายนี้เพื่อนำาเอารางรถไฟและไม้หมอนไป
บูรณะเส้นทางรถไฟในสหพันธรัฐมลายู ปัจจุบันพื้นที่ของเส้นทางรถไฟสายดังกล่าว
กรมทางหลวงได้ใช้เป็นแนวในการตัดถนนเพชรเกษม ช่วงชุมพรถึงตัวเมืองระนอง
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ ทำาให้การคมนาคมไปสู่เมืองระนองมีความสะดวกสบายแตกต่าง
ไปจากอดีตอย่างสิ้นเชิง
การเสด็จพระราชดำาเนินเยี่ยมราษฎรภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๐๒ พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ได้เสด็จพระราชดำาเนินมายังจังหวัดระนองเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ ยัง
ความปลาบปลื้มแก่พสกนิกรชาวเมืองระนองอย่างหาที่สุดมิได้ เมื่อเสด็จฯ
เข้าพื้นที่จังหวัดระนอง ณ พลับพลาศิลาจารึก จปร. จึงได้ทรงลงพระปรมาภิไธยและ
พระนามาภิไธยของทั้งสองพระองค์ไว้บนก้อนศิลาบริเวณใกล้เคียงกันกับศิลาจารึก
พระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นมิ่งมงคล
ของจังหวัดระนองและเป็นศูนย์รวมใจชาวเมืองระนอง เมื่อเสด็จฯ ถึงตัวเมืองระนอง
นายพันธุ์ สายตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง ได้เชิญเสด็จประทับยังพลับพลาพิธี
สนามโรงเรียนระนองพิชัยรัตนาคาร (ปัจจุบันคือโรงเรียนสตรีระนอง) มีชาวเมือง
ระนองมารับเสด็จฯ อย่างเนืองแน่นบริเวณพิธีและตลอดเส้นทางที่เสด็จ
พระราชดำาเนินผ่าน ทั้งสองพระองค์ได้ประทับแรม ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง
เป็นเวลา ๑ ราตรี ในวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ จึงได้เสด็จพระราชดำาเนินไปยัง
อำาเภอกะเปอร์ และจังหวัดพังงาต่อไป
สมุดภาพเมืองระนอง 11
ranong hirest.indd 11 2/20/2562 BE 12:55