Page 8 - มฤดกเมืองนนทบุรี
P. 8
นนทบุรี ในประวัติศาสตร์
จังหวัดนนทบุรีตั้งอยู่ในภูมิรัฐศาสตร์ที่สำาคัญคืออยู่กึ่งกลางระหว่างกรุงศรีอยุธยากับปากแม่นำ้า
เจ้าพระยาในอดีต และอยู่ชิดติดกรุงเทพมหานครในสมัยรัตนโกสินทร์ ประกอบกับเป็นเมืองที่อยู่บนดินดอน
สามเหลี่ยมปากแม่นำ้าเจ้าพระยาจึงมีความอุดมสมบูรณ์อย่างยิ่ง สามารถปลูกพืชผลทางการเกษตรได้ผลสำาเร็จ
อย่างดีเยี่ยม
ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แม่นำ้าเจ้าพระยายังคงไหลเลี้ยวไปตามแม่นำ้าอ้อมในปัจจุบัน ความ
เจริญจึงยังคงปรากฏร่องรอยอยู่ จนกระทั่งอาจารย์ศิลป์ พีระศรี อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ อาจารย์เขียน ยิ้มศิริ
และนายอังคาร กัลยาณพงศ์ ต้องลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลศิลปกรรมสกุลช่างนนทบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ เช่น
จิตรกรรมฝาผนังวัดโพธิ์บางโอ วัดปราสาท และวัดชมภูเวก
ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองนนทบุรีก็ยิ่งทวีความสำาคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเป็นเมืองแห่ง
พระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งปัจจุบันคือบริเวณวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร
รวมตลอดถึงวัดสำาคัญต่างๆ ที่เนื่องด้วยพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น วัดเขมาภิรตารามและ
วัดปรมัยยิกาวาส
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการปรับปรุงการบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ เมือง
นนทบุรีจึงมาขึ้นอยู่กับกระทรวงนครบาล และย้ายที่ตั้งเมืองจากปากแม่นำ้าอ้อม ฝั่งตะวันตกของแม่นำ้า
เจ้าพระยาไปตั้งที่บริเวณตลาดขวัญ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำาเจ้าพระยา (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดท้ายเมือง
และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ) นับเป็นที่ตั้งศาลากลางแห่งแรกของเมืองนนทบุรี ต่อมา
เมืองนนทบุรีได้ถูกรวมอยู่ในมณฑลเทศาภิบาลกรุงเทพฯ (ข้อบังคับลักษณะปกครองหัวเมือง ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ.
๒๔๔๐)) ซึ่งประกอบด้วยกรุงเทพมหานคร เมืองธนบุรี เมืองมีนบุรี เมืองนนทบุรี เมืองพระประแดง (เมือง
นครเขื่อนขันธ์) และเมืองสมุทรปราการ (เมืองปากนำ้า)
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยุบระบบมณฑล
เทศาภิบาล เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ แล้วให้เมืองนนทบุรีขึ้นอยู่กับกรุงเทพพระมหานคร แล้วใช้คำาเรียกว่า “จังหวัด
นนทบุรี” มีฐานะเป็นจังหวัดรอบนอกกรุงเทพพระมหานคร ในเวลาเดียวกันกระทรวงยุติธรรมได้ขออนุญาต
สร้างอาคารไม้แบบโคโลเนียล ๒ ชั้น ขึ้นที่ริมแม่นำ้าเจ้าพระยา ตำาบลบางขวาง เมืองนนทบุรี เพื่อใช้เป็นโรงเรียน
กฎหมาย แต่ระหว่างนั้นยังหาครูและนักเรียนมาเรียนไม่ได้ กระทรวงยุติธรรมจึงได้ขอพระบรมราชานุญาตให้
ย้ายโรงเรียนราชวิทยาลัยมาทำาการเรียนการสอนยังอาคารแห่งนี้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ ซึ่งถือว่าเป็นโรงเรียนที่ได้
มาตรฐานการเรียนการสอนอย่างยุโรป ได้เปิดทำาการสอนจนถึง พ.ศ. ๒๔๖๘ จึงได้ยุติ
พ.ศ. ๒๔๖๑ เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา) ได้ขอสัมปาทานเดิน
รถไฟจากสถานีวัดบวรมงคลไปจนถึงอำาเภอบางบัวทอง ต่อเนื่องจนถึงอำาเภอลาดหลุมแก้ว นับเป็นการพัฒนา
เศรษฐกิจขนาดใหญ่ในยุคนั้น เส้นทางรถไฟสายนี้ดำาเนินกิจการโดยบริษัท รถไฟสายบางบัวทอง จำากัดสินใช้
และได้เลิกกิจการเมื่อวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๖
พ.ศ. ๒๔๗๑ กระทรวงมหาดไทยจึงได้ขอใช้อาคารโรงเรียนราชวิทยาลัย เพื่อเป็นศาลากลางจังหวัด
นนทบุรี (นับเป็นหลังที่สอง) ที่ตั้งของเมืองจึงได้ย้ายจากตลาดขวัญมายังตำาบลบางขวาง ต่อมา พ.ศ. ๒๔๘๖
รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ตัดถนนเข้ามายังพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่นำ้าเจ้าพระยา เชื่อมระหว่าง
จังหวัดนนทบุรี – กรุงเทพฯ ขึ้นเป็นสายแรก คือ ถนนประชาราษฎร์ และตัดถนนเลียบแม่นำ้าเจ้าพระยาขึ้น
เป็นสายที่สองมีชื่อว่า ถนนพิบูลสงคราม ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๙๐ จึงได้ตัดถนนจากตัวเมืองนนทบุรีไปยังอำาเภอ
ปากเกร็ด และไปสิ้นสุดที่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่นำ้าเจ้าพระยาของตำาบลบ้านกลาง อำาเภอเมืองปทุมธานี มีชื่อ
ว่า ถนนติวานนท์
๖ มฤดกเมืองนนทบุรี