Page 7 - มฤดกเมืองนนทบุรี
P. 7
คำานำา
นนทบุรีเป็นเมืองเก่าริมแม่นำ้าเจ้าพระยาที่รู้จักกันในนาม ตลาดขวัญ (บริเวณตลาดนนทบุรีเดี๋ยวนี้) และตลาดแก้ว
(บริเวณวัดเขมา) ดังปรากฏในแผนที่ของลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามายังราชสำานักสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เมื่อ ๓๐๐ กว่าปีก่อน ปัจจุบันนี้หากเดินทางจากพระนครศรีอยุธยาเมืองหลวงเก่าของเรา แล่นเรือลงมาทางใต้ ก็จะผ่าน
จังหวัดปทุมธานี เกาะเกร็ด ตลาดนนทบุรี จากนั้นจึงผ่านกรุงเทพฯ ไปถึงอ่าวไทย ที่จังหวัดสมุทรปราการ
นนทบุรีไม่ได้มีแต่ทุ่งนาหรือสวนทุเรียนเท่านั้น หากยังมีชุมชนเก่าแก่ มีวัดเก่าแก่ทั้งสองฟากฝั่งแม่นำ้าเจ้าพระยา
ยกตัวอย่างเช่น วัดปราสาท ซึ่งสร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาปลาย มีโบสถ์รูปทรงสวยงาม ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง
วัดเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างถวายอุทิศแด่พระราชชนนี ผู้เป็น
ธิดาของเจ้าเมืองนนทบุรี เป็นวัดขนาดใหญ่ มีป้อมและกำาแพงอันงามสง่า วัดเขมาภิรตาราม ปฏิสังขรณ์ใหญ่ในสมัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงย้ายพระตำาหนักแดงและพระที่นั่งมณเฑียรมาไว้ที่นี่ ภายใน
พระอุโบสถมีจิตรกรรมภาพทวยเทพเขียนไว้เต็มผนังอลังการ วัดชมภูเวก มีภาพเขียนพระแม่ธรณีบีบมวยผมที่งดงาม
อ่อนช้อย ได้รับกย่องว่าเป็นภาพแม่พระธรณีที่งามที่สุดภาพหนึ่งของประเทศไทย
เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ จังหวัดนนทบุรีได้จัดพิมพ์หนังสือ “สมุดภาพนนทบุรี” ซึ่งประมวลภาพเก่า
ตั้งแต่พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ และพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จเมืองนนทบุรี ภาพ
ท่านำ้า โรงเรียน สะพานพระราม ๖ วัดสำาคัญ ตลาดเก่า บ้านเรือน ทางรถไฟสายบางบัวทอง ค่ายเชลยชาวญี่ปุ่นที่
บางบัวทอง สนามบินนำ้า ภาพประเพณี วิถีชีวิต ตลอดจนผู้คนสมัยต่างๆ เอาไว้อย่างจุใจ
บัดนี้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ปรากฏในภาพถ่ายเก่า ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก บางแห่งถูกรื้อสร้างใหม่ บางแห่งถูก
เปลี่ยนโฉม หลายท่านอาจจะไม่เคยรู้ว่านนทบุรีเคยมีตลาดริมนำ้าอยู่ที่บางคูเวียง อำาเภอบางกรวยเคยมีทางรถไฟที่แล่น
จากเตาปูน บางยี่ขัน กรุงเทพฯ ผ่านบางใหญ่ บางบัวทอง ขึ้นไปจนถึงตลาดระแหง อำาเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัด
ปทุมธานี เพราะเดี๋ยวนี้ทางรถไฟสายนั้นแทบไม่มีอะไรให้เห็น การเก็บและตีพิมพ์ภาพเก่าไว้เป็นหลักฐานจึงเป็นเรื่อง
สำาคัญมาก ในขณะเดียวกัน การเก็บบันทึกภาพข้าวของ เครื่องมือเครื่องใช้ โบราณวัตถุ จิตรกรรมฝาผนัง ตลอดจน
งานฝีมือน้อยใหญ่ ก็สำาคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน เพราะสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความช่างคิด ความสามารถ ความประณีต
ของคนแต่ก่อนที่พึงถือเป็นแบบอย่าง หากไม่รวบรวมไว้ให้เห็นด้วยตา คนชั้นหลังก็คงไม่เข้าใจ เมื่อไม่เข้าใจก็ไม่รู้สึก
ผูกพัน ไม่ตระหนักว่าบ้านเมืองที่ตนอาศัยนั้นมีคุณค่าเพียงไร ควรช่วยกันทำานุทำานุบำารุงรักษาอย่างไร
เมื่อมีหนังสือ “สมุดภาพนนทบุรี” รวมภาพถ่ายเก่าแล้วก็ต้องมีหนังสือรวมภาพข้าวของและสิ่งสำาคัญต่าง ๆ
ของจังหวัดนนทบุรีควบคู่กันไปอีกเล่มจึงจะเรียกว่าครบชุด หนังสือเล่มหลัง คุณภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี
ซึ่งเป็นทั้งนักปกครองและผู้ใฝ่ใจในวิชาทำาหนังสือ ตั้งชื่อว่า “มฤดกเมืองนนทบุรี”
ในการทำาสมุดภาพ “มฤดกเมืองนนทบุรี” คณะทำางานได้ออกตระเวนไปตามวัดโรงเรียน สถานที่ราชการ
พิพิธภัณฑ์ และบ้านเรือนในชุมชนต่างๆ ทั้ง ๖ อำาเภอ คืออำาเภอเมือง อำาเภอบางใหญ่ อำาเภอบางกรวย อำาเภอ
บางบัวทอง อำาเภอไทรน้อย และอำาเภอปากเกร็ด เมื่อไปถึงที่ใดก็มักได้รับความร่วมมือจากเจ้าของพื้นที่เป็นอย่างดี
ช่วยเลือกสิ่งของมีค่ามาให้ถ่ายภาพด้วยความเต็มใจ ส่วนทางช่างภาพก็ได้ตั้งกล้องจัดแสง ถ่ายทำาอย่างประณีต
จากนั้นกองบรรณาธิการจึงนำาภาพทั้งหมดมาคัดเลือก ทำาคำาบรรยายโดยกำากับชื่อผู้ให้ความอนุเคราะห์ไว้เป็นอนุสรณ์
ท้ายเล่มทุกครั้ง เมื่อจัดรูปเล่มจนพอใจแล้วจึงนำาส่งโรงพิมพ์
ในนามของคณะผู้จัดทำา ขอขอบคุณคุณภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีที่เอาใจใส่ติดตามกวดขัน
การทำางานมาตลอด จนงานบรรลุเป้าหมาย ขอกราบขอบพระคุณและขอบคุณพระสงฆ์ สามเณร เจ้าหน้าที่วัด
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ และชาวจังหวัดนนทบุรี ที่ร่วมแรงร่วมใจ สละเวลาค้นหาภาพ และข้าวของมาให้บันทึกภาพ
มากมาย ช่วยให้ความรำ่ารวยทางปัญญาและทรัพย์สินของนนทบุรีโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ชัดในครั้งนี้
เอนก นาวิกมูล
วันอาทิตย์ที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒
มฤดกเมืองนนทบุรี ๕