Page 76 - การประยุกต์ทฤษฎีใหม่สู่ โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง | กรมการพัฒนาชุมชน
P. 76
เสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดราชการมาบุกเบิก หักล้างถางพง ปลูกพืชตามหลัก
ทฤษฎีใหม่ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๕
พื้นที่ ๔๐ ไร่นี้ เป็นป่าอ้อยทิ้งร้าง แห้งแล้ง มีแต่ดินดาน ขาดแคลนน�้า
โดยเริ่มจากการขอกล้าไม้จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาขุดหลุมปลูก คลุม
ด้วยหญ้าแฝก ลดด้วยน�้าชีวภาพ ๓ ปีแรกต้องอดทนอย่างมาก กว่าจะปลูกต้นไม้
ได้ต้นหนึ่ง ต้องขุดหลุมอยู่ครึ่งวัน จ้างคนงานมาได้ครึ่งวันก็หนีกลับ เพราะล�าบาก
จึงไม่กล้ารับเงินค่าจ้าง สิบปีผ่านไป อาจารย์ยักษ์จึงตัดสินใจลาออกจากราชการ
และลงไปอยู่อาศัยในที่ดินแปลงนี้อย่างเต็มตัว เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๖
ท่านใช้เวลาต่อสู้กับความแห้งแล้งของพื้นดิน ภายใน ๕ ปี พื้นดินแปลง
นี้ก็ได้รับการฟื้นฟู อุดมสมบูรณ์ด้วยพรรณไม้ยืนต้นกว่า ๓๐๐ ชนิด ต่อจากนั้น ภาพหน้าซ้าย
ป่าพอกิน ศูนย์กสิกรรม
จึงได้ตั้งเป็น “ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง” เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ในหลัก ธรรมชาติ (มาบเอื้อง)
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ อ�าเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
ต่อมาอาจารย์ยักษ์จึงเริ่มแสวงหาแนวร่วม คนที่มีอุดมการณ์เดียวกัน ใน ภาพหน้าขวา
การใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ ลดการพึ่งพาสารเคมี คลองไส้ไก่ ศูนย์กสิกรรม
หันกลับมาพึ่งตนเอง โดยใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้าน ภายใต้แนวคิด ธรรมชาติ (มาบเอื้อง)
การบริหารพื้นที่ตามหลักป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง และไม้ ๕ ชั้น อ�าเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
72