Page 115 - การประยุกต์ทฤษฎีใหม่สู่ โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง | กรมการพัฒนาชุมชน
P. 115
โคก หนอง นา แหงน้ำาใจและความหวัง
่
กรมราชทัณฑ ์
ตามโบราณราชประเพณี เมื่อมีพระราชพิธีส�าคัญของพระมหากษัตริย์ เช่น พระราชพิธี
เถลิงศกมหาสงกรานต์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา จะทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีทรงบ�าเพ็ญพระราชกุศล และในห้วงที่สุดแห่งพระราชพิธี
จะมีการพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์
ในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช ๒๕๖๓ ทรงพระราชด�าริเห็นว่าเป็น
อภิลักขิตกาลส�าคัญ เพื่อเป็นการแสดงพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมควรพระราชทาน
อภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ เพื่อให้โอกาสแก่บุคคลเหล่านั้นกลับประพฤติตนเป็นพลเมืองดี อันจะเป็น
คุณประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชกฤษฎีกาพระราชทาน
อภัยโทษ พ.ศ. ๒๕๖๓ พระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ จ�านวน ๓๙,๐๘๑ คน
ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระปริวิตกต่อนักโทษที่ได้รับพระราชทาน
อภัยโทษ เมื่อจะต้องออกไปสู่สังคมภายนอก จะหาลู่ทางในการด�ารงชีวิตได้ยากล�าบากกว่าบุคคลทั่วไป
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการฝึกโครงการพระราชทาน โคก หนอง นา แห่งน�้าใจ
และความหวัง ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้ทฤษฎีใหม่แบบชาวบ้าน ปั้นโคก ขุดหนอง ท�านา เพื่อสร้างต้นแบบ
ทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ขนาดเล็ก โดยสามารถด�าเนินการได้ในทุกเรื่อง และมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพื้นฐาน
ความคิดการฝึกวินัย การลงมือปฏิบัติ ตลอดจนการแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง เพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถ
พึ่งพาตนเอง และช่วยเหลือผู้อื่นที่ได้รับความเดือดร้อนเมื่อพ้นโทษออกไปภายนอก
111