Page 111 - การประยุกต์ทฤษฎีใหม่สู่ โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง | กรมการพัฒนาชุมชน
P. 111

การด�าเนินงานแบ่งเป็น ๓ ระยะ คือ ระยะที่ ๑ วางแผน

                                                       ออกแบบปรับปรุงพื้นที่ เพื่อให้ราษฎรที่จ้างงานได้รับองค์ความรู้
                                                       การจัดการพื้นที่ตามแนวทางทฤษฎีใหม่ ใช้เวลา ๒ เดือน คือ พฤษภาคม

                                                       - มิถุนายน ระยะที่ ๒ เสริมสร้างพืชผลและการเรียนรู้ที่จ�าเป็น รวมถึง
                                                       การแบ่งผลผลิตที่เหลือในฟาร์มให้คนในชุมชนที่ไม่ได้มีโอกาสเข้าร่วม
                                                       ใช้เวลา ๒ เดือน คือ กรกฎาคม - สิงหาคม และระยะที่ ๓ เรียนรู้การขาย

                                                       ผลผลิตที่เหลือจากการให้และแปรรูป ใช้เวลา ๑ เดือน คือ กันยายน
                                                       โดยมีการจ้างแรงงานรวมประมาณ ๑,๑๐๐ คน ค่าจ้าง ๓๐๐ บาทต่อวัน

                                                       ท�างานวันจันทร์ - วันเสาร์

                                                              ส�าหรับภาคกลางได้ฟาร์มตัวอย่างฯ สีบัวทอง อ�าเภอแสวงหา
                                                       จังหวัดอ่างทอง เป็นฟาร์มน�าร่อง แบ่งพื้นที่ ๑๕ ไร่ จากจ�านวน ๗๒๐ ไร่

                                                       มาด�าเนินการตามโครงการนี้ ถึงแม้จังหวัดอ่างทองจะไม่พบผู้ติดเชื้อ
                                                       โควิด ๑๙ แต่มีผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อยู่จ�านวนหนึ่ง
                                                       มีราษฎรให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมหลายร้อยคน จึงได้คัดเลือกด้วย

                                                       การสัมภาษณ์ รับคนที่ได้รับผลกระทบจริงๆ เช่น คนหนุ่มสาวโรงงาน
                                                       ที่ตกงาน หรือพ่อค้าแม่ค้าที่ค้าขายไม่ได้ นับเป็นกลุ่มแรกที่คัดเลือก

                                                       เข้ามาจ�านวน ๕๐ คน มีนายบุญล้อม เต้าแก้ว ครูกสิกรรมธรรมชาติ
                                                       ช่วยออกแบบการเรียนรู้ให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม ผู้เข้าโครงการ
                                                       จะได้เรียนรู้ทฤษฎีต่างๆ ได้คิดและลงมือท�าในฐานะเจ้าของแปลง ไม่ใช่

                                                       ลูกจ้าง ด้วยตระหนักว่าเราไม่อาจจ้างพวกเขาไปได้ตลอดชีวิต จึงเสมือน
                                                       จ้างมาเรียนมากกว่าท�างาน

                                                              นางประยูร โพธิ์ทองค�า อายุ ๕๓ ปี ชาวบ้านสีเย็น กล่าวว่า

                                                       การได้เข้าร่วมโครงการท�าให้เข้าใจการท�าเกษตรกรรมได้อย่างลึกซึ้ง
                                                       และรู้สึกมหัศจรรย์ในการปลูกพืชอินทรีย์ด้วยกระบวนการชีวภาพ


                                                              นางสายหยุด ชื่นกลิ่น อายุ ๕๑ ปี ชาวบ้านรวมใจ เผยว่า
                                                       จะน�าเอาความรู้ที่ได้ไปใช้กับที่ดินของตนจ�านวน ๓ ไร่ ส่วนนางจ�า

                                                       แรง ชื่นเอี่ยม อายุ ๔๑ ปี ชาวบ้านปันสุข ได้แสดงความรู้สึกส�านึกใน
                                                       พระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น และกล่าวว่าตนเองจะน�าเอาความรู้
                                                       เรื่องทฤษฎีใหม่ที่ได้จากโครงการไปเผยแพร่ต่อให้คนในชุมชนของตน


                                                              จึงกล่าวได้ว่าพระมหากรุณาธิคุณในครั้งนี้ได้ท�าให้ผู้ที่เข้าร่วม
                                                       โครงการได้กลับมามีความสุขอีกครั้งและสามารถพึ่งตนเองได้ไม่ต้อง
                                                       เดือดร้อน โดยมีแหล่งอาหารเป็นของตัวเอง และสามารถแบ่งปันความ

                                                       รู้และผลผลิตให้กลับสู่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน แม้จะต้องเผชิญสถานการณ์
                                                       วิกฤตต่างๆ




                                                                                                        107
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116