Page 229 - :: สมุดภาพนครราชสีมา ::
P. 229
วัดปทุมคงคา (วัดนกออก)
ภายในวัดมีอุโบสถเดิมตั้งแต่แรกสร้าง อายุมากกว่า ๒๐๐ ปี เป็นสถาปัตยกรรมแบบสิมอีสาน ผสมกับศิลปะของทางภาคกลาง
จีนและท้องถิ่น สร้างโดยการก่ออิฐถือปูน ฐานโค้งแอ่นเล็กน้อย หลังคาเป็นทรงจั่ว มุงกระเบื้องดินเผา มุมหลังคาประดับเป็น
รูปหน้าคน ศิลปะท้องถิ่น ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “นาคกลาย” สื่อความหมายถึงพญานาคกําลังจะแปลงกายเป็นมนุษย์ ไม่มีช่อฟ้า
ใบระกา ด้านหน้าอุโบสถประดับรังผึ้งไม้ฉลุ มีประตูทางเข้าด้านหน้า ๑ บาน หน้าต่างบานเล็กแคบด้านละ ๒ บาน บานประตู
ทางเข้าเป็นซุ้มโค้งแบบจีน ทําจากไม้เนื้อแข็งแกะสลักลวดลายเส้นตรงสลับไปมา และลายดอกไม้ประดับกระจกเขียว ศิลปะจีน
รอบอุโบสถมีใบเสมาทําจากศิลาแลง ภายในมีพระประธานนามว่า พระพุทธมุนีศรีปทุมคงคา ปางมารวิชัย ศิลปกรรมรัตนโกสินทร์
ตอนต้น เพดานโบสถ์เขียนภาพจิตรกรรมรูปสัตว์ป่าหิมพานต์ สัตว์ในตํานานต่างๆ และลายพรรณพฤกษา โดยฝีมือช่างชาวบ้าน
สมุดภาพนครราชสีมา 229